การเปรียบเทียบอุบัติการณ์ของพนักงานที่มีผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินผิดปกติตามเกณฑ์

Authors

  • ธีระศิษฏ์ เฉินบำรุง
  • ศิรินทิพย์ ชาญด้วยวิทย์
  • วันทนีย์ หวานระรื่น
  • วนิดา อินชิต

Keywords:

การปรับข้อมูลพื้นฐาน, โครงการอนุรักษ์การได้ยิน, การเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินแบบสำคัญ, การเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินแบบมาตรฐาน, การปรับปัจจัยจากอายุ, การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน

Abstract

          การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงอุบัติการณ์การเปลี่ยนแปลงผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินตามเกณฑ์ของ OSHA และเกณฑ์ของ NIOSH เมื่อแปลผลเทียบกับข้อมูลพื้นฐานที่ผ่านการปรับข้อมูลพื้นฐานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการแล้ว เปรียบเทียบกับกรณีที่ไม่มีการปรับข้อมูลพื้นฐานในพนักงาน 2,539 ราย จากสถานประกอบกิจการ 17 แห่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งได้รับการตรวจสมรรถภาพการได้ยินระหว่าง พ.ศ. 2550-2558 วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบจำนวนและร้อยละ และการทดสอบไคสแคว์ ผลการวิจัยพบว่าประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 30-50 ปี ในฝ่ายการผลิตโพลีเมอร์และ โอเลฟินส์ เมื่อปรับข้อมูลพื้นฐานอุบัติการณ์ของการเปลี่ยนแปลงระดับการได้ยินแบบสำคัญและแบบมาตรฐานตามเกณฑ์ของ NIOSH , OSHA, และ OSHA ที่มีการปรับปัจจัยจากอายุ คิดเป็นร้อยละ 18.14-29.27, 9.37-11.15, และ 3.81-5.33 ตามลำดับ และมีแนวโน้มคงที่เมื่อไม่ได้ปรับข้อมูลพื้นฐานมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในแต่ละปีจากผลบวกลวง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการปรับข้อมูลพื้นฐานมีความจำเป็นสำหรับการดำเนินมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน การคัดกรองเพื่อส่งพนักงานเข้ารับการตรวจซ้ำภายใน 30 วัน การส่งพบแพทย์อาชีวเวชศาสตร์วินิจฉัยโรคจากการทำงานที่เหมาะสมที่สุดควรใช้เกณฑ์ของ OSHA ที่มีการปรับข้อมูลพื้นฐานอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยให้สถานประกอบการส่วนใหญ่สามารถดำเนินการกับพนักงานที่มีผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินที่ผิดปกติได้อย่างเหมาะสม การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพควรได้รับการสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ และพิจารณาความเป็นไปได้ในการร่วมมือปฏิบัติของสถานประกอบการ           This descriptive study aimed to examine the incidence of hearing threshold shift by OSHA criteria and NIOSH criteria. The participants were 2,539 employees from 17 plants in eastern Thailand, who obtained audiometric tests during 2007-2015. The results after proper baseline revision method were compared with those non-baseline revision method. Data were analyzed by descriptive statistics and Chi-square test. Results revealed that the majority of the subjects were male, 30-50 years old, working in polymer and olefins production plants. After proper baseline revision, the incidence of significant threshold shift (NIOSH), standard threshold shift (OSHA), and standard threshold shift with age correction were 18.14-29.27%, 9.37-11.15%, and 3.81-5.33% respectively. With baseline revision, the incidence was quite stable. Without baseline revision, the incidence showed rising trend caused by false positive. These findings suggested that baseline revision was crucial. The most suitable criteria for screening hearing abnormalities were to retest audiogram within 30 days. Referral to occupational physician to make diagnosis for work related disease was OSHA criteria with proper baseline revision. Legislation of health related laws and regulations should be supported by evidence-based medicine together with compliance and affordability of the companies.

Downloads