การรับรู้การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชุมพร

Authors

  • อังคณา ภิโสรมย์
  • ศศิธร ธนะภพ

Keywords:

การรับรู้, องค์กรแห่งการเรียนรู้, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Abstract

          การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์และปัจจัยการทำนายรับรู้การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จากการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ทำการศึกษาทุกหน่วยประชากรได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 359 คน ในจังหวัดชุมพร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง          ผลการศึกษา ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับการอบรมพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ และการประเมินเสริมพลัง มีความรู้ เจตคติ การปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิและรับรู้การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับมาก เจตคติการปฏิบัติงานในการดำเนินงานคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิและการได้รับการประเมินเสริมพลังมีความสัมพันธ์กับการรับรู้องค์กรแห่งการเรียนรู้เชิงบวกและผกผัน ปัจจัยทำนายร่วมการรับรู้องค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ เพศ เจตคติและการได้ปฏิบัติงานคุณภาพบริการปฐมภูมิ โดยมีความสามารถในการอธิบายร่วมในระดับปานกลาง (R2= 53.54)          การเสริมสร้างเจตคติเชิงบวกและการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิอย่างมีส่วนร่วมของบุคลากรมีผลต่อการรับรู้การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ควรมุ่งเน้นการพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยการปรับปรุงกระบวนการเสริมพลังเชิงบวกและการพัฒนาพลวัตรการเรียนรู้ด้วยการมีส่วนร่วมปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง           This descriptive cross - sectional research aimed to analyze the correlation and prediction of learning organization perception of the public health personnel, Sub-District Health Promoting Hospital, Chumphon Province, 2016. Data collected by self-administered questionnaire. Study population is 359 persons. Descriptive and inferential statistic were used for data analysis.          The result revealed that most of the health personnel were female, graduated in bachelor’s degree, had been trained in quality improvement for the primary care network and assessed by the empowerment evaluation process. Overall knowledge, attitude, practice in quality improvement for the primary care network and learning organization perception scores were at the high level. The attitude and practice in quality improvement for the primary care network were positive correlated with the learning organization perception, in contrast to the empowerment evaluation process. Predictors for the perception of learning organization were sex, attitude and practice in quality improvement for the primary care network. The ability to explain was in the moderate level (R2 = 53.54).          Strengthening the positive attitude and the quality of primary care network, with the participation of personnel affects the perception of the organization of learning. Sub-district health promoting hospital should focus on development of the learning organization by improving the strengthening process for the positive of power development and learning with the involvement of operational personnel continued.

Downloads