กลไกทางจิตกับสุขภาพจิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

Authors

  • ต้นสาย แก้วสว่าง
  • ฐิรชัย หงษ์ยันตรชัย

Keywords:

กลไกทางจิต, สุขภาพจิต, defense mechanism, mental health

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบภาวะสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตที่แตกต่างกัน โดยศึกษาในกลุ่มติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 300 คน ในการประเมินกลไกทางจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีใช้แบบทดสอบ The Defense Style Questionnaire 60 (DSQ-60) และ ใช้แบบทดสอบ The Symptom Checklist-90 (SCL-90) ในการประเมินสุขภาพจิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผลการวิจัยพบว่าพบว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตแตกต่างกัน มีคะแนนสุขภาพจิตทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบรายคู่แสดงให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Adaptive defense จะมีคะแนนภาวะผิดปกติทางสุขภาพจิตทุกด้านต่ำกว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Image distorting อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Adaptive defense มีคะแนนภาวะสุขภาพจิตทุกด้านไม่แตกต่างกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Affect regulating ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Affect regulating มีคะแนนภาวะผิดปกติทางสุขภาพจิตด้าน Obsessive – Compulsive Disorder, Interpersonal – Sensitivity, Depression, Anxiety, Hostility และ Psychotic ต่ำกว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ใช้กลไกทางจิตกลุ่ม Image distorting อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           The purpose of this research was to compare mental health status among HIV-infected patients using different mental mechanisms. The participants consisted of 300 HIV infected patients at Photharam Hospital, Ratchaburi province, Thailand. The evaluation of the defense mechanism was carried out using the Defense Style Questionnaire 60 (DSQ-60) and the evaluation of mental health the Symptom Checklist-90 (SCL-90) was used. The results revealed that HIV-infected patients that used different defense mechanism had different mental health (p< .05). With respect to the component of HIV-infected patients that used adaptive defense, they had lower mental health illness scores than those that used other defense mechanism types (p<.05). Mental illness of HIV-infected patients that used adaptive defense was not different from affect regulating defense mechanism users (p< .05). HIV-infected patients that used affect regulating defense had lower score of mental illnesses such as obsessive compulsive disorder, interpersonal sensitivity, depression, anxiety, hostility and psychotic than those that used image distorting defense mechanism (p< .05).

Downloads