ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพต่อการเกิดมะเร็งกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองของ ผู้ประกอบอาชีพริมถนน

Authors

  • นันทฉัตร ระฮุง
  • นันทพร ภัทรพุทธ
  • ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์

Keywords:

สารก่อมะเร็ง, ความเชื่อด้านสุขภาพ, ผู้ประกอบอาชีพริมถนน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพต่อการเกิดมะเร็งกับพฤติกรรมการป้องกันตนเอง จำนวน 400 คน ในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพริมถนน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Pearson‘s Correlation Coefficient          ผลการศึกษาพบว่าความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยงการรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดมะเร็งอยู่ในระดับปานกลาง และพฤติกรรมการป้องกันตนเองต่อการเกิดมะเร็งอยู่ในระดับสูง ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเอง พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < 0.001) โดยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงการรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรคในการป้องการเกิดมะเร็ง กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีสถิติที่ระดับ (p < 0.001) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการรณรงค์ให้มีการดูแลสุขภาพเชิงรุก เช่น รณรงค์สื่อสารอันตรายจากการรับสัมผัสสารก่อมะเร็ง แนะนำวิธีการป้องกันอันตรายจากสารก่อมะเร็ง จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีส่วนบุคคลแก่กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ และแนะนำการใช้อุปกรณ์ที่ถูกชนิด ถูกวิธี           The purpose of this research was to study the association between health belief to carcinogenesis and self-protection behaviors in 400 roadside occupations working around the oil refinery in Sriracha district, Chonburi. The research instruments was questionnaire. The data were analyzed using Pearson’s correlation coefficient.          Results revealed that the overall health belief score was at high level. Perceived susceptibility, perceived severity, and perceived benefits levels were all high, while perceived barriers was at a moderate level. Self-protection behavior score was at high level. The correlation between health belief and self-protection behaviors was statistically significant (p < 0.001). The relationship between self-protection behaviors and perceived susceptibility, severity, benefits and barriers were significant (p< 0.001). Therefore, relevant agencies should emphasize on promoting aggressive health awareness such as communication of the dangers of exposure to carcinogens, provision of proper personal protective equipment, and suggestion of correct use of the equiptment.

Downloads