ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
Keywords:
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสอง, นักศึกษามหาวิทยาลัย, ควันบุหรี่มือสอง, ป้องกันและหลีกเลี่ยงAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือของ ประเทศไทย จำนวน 351 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติกส์ ผลการวิจัย พบว่า มีนักศึกษาเคยได้รับควันบุหรี่มือสองภายในมหาวิทยาลัย ร้อยละ 32.2 และสถานที่ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในมหาวิทยาลัยมากที่สุดคือ ห้องน้ำบนอาคารเรียน บริเวณที่จอดรถและ บริเวณทางเท้า นักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสองอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 59.5 โดยตัวแปรที่มีผลต่อพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย เพศหญิง (ORAdj=1.747, 95% CI: 1.056-2.890) ไม่เคยสูบบุหรี่ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ORAdj=6.554, 95% CI: 1.348-31.877) มีความรู้เรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ในระดับมาก (ORAdj=1.965, 95% CI: 1.112-3.473) และมีการรับรู้ประโยชน์ของการหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสองในระดับมาก (ORAdj= 1.647, 95% CI: 1.026-2.643) โดยร่วมกันทำนายพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสองของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ร้อยละ 15.2 ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมพฤติกรรมหลีกเลี่ยงควันบุหรี่มือสองโดยการเสริมสร้างความรู้เรื่องพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 ควบคู่กับการเสริมสร้างการรับรู้ประโยชน์ของการหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสอง The purpose of this research was to investigate factors affecting avoidance behavior of secondhand smoke among students in a University. The health belief model was used as research framework. This study gathered data through questionnaires to get the opinions of 4th year students at a university in northern Thailand. The subjetcs were taken from a multi stage sampling to get 351 people. Data were analyzed by using descriptive statistics, chi-square and multiple logistic regression analysis. The results showed that 32.2% of students were exposed to secondhand smoke from toilets in the buildings, parking area, and sidewalk in the university. Most of the students had a high level of avoidance of secondhand smoke exposure at 59.5%. The independent variables that significantly affected behavior of avoiding secondhand smoke were statistically significant at 0.05 level included female (ORAdj = 1.747, 95% CI: 1.056-2.890), smoking in the past 6 months (ORAdj = 6.554, 95% CI: 1.348-31.877), had knowledge concerning Non-Smokers Health Protection Act, B.E. 2535 at high level (ORAdj = 1.965, 95% CI: 1.112-3.473), and perceived the benefits of avoiding secondhand smoke at high level (ORAdj = 1.647, 95% CI: 1.026-2.643). The independent variables had a predictive value of 15.2 percent in the behavior of avoiding secondhand smoke of students in the university. From this finding the university should promote the behavior of avoiding second-hand smoke by enhancing knowledge about the Non-Smoking Health Act BE 2535, along withenhancing the perceived benefits of avoiding second hand smoke.Downloads
Issue
Section
Articles