ปัญหาและความต้องการในการรับบริการสาธารณสุขตามวิถีอิสลาม

Authors

  • กิติยา โต๊ะทอง
  • นิตยา ทนุวงษ์ วงศ์เสงี่ยม
  • มนัส วงศ์เสงี่ยม

Keywords:

มุสลิม, อิสลาม, บริการสาธารณสุขตามวิถีอิสลาม, ความต้องการที่จำเป็น, วิถีอิสลาม, Islam

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “บริการสาธารณสุข ที่จำเป็นสำหรับชาวไทยมุสลิม: ช่องว่างแห่งระบบบริการสาธารณสุขไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา และความต้องการของชาวไทยมุสลิมเมื่อเข้ารับบริการสาธารณสุขที่โรงพยาบาลรัฐกลุ่มผู้ให้ข้อมูลคือ ชาวไทยมุสลิม จำนวน 52 คนที่มีประสบการณ์การเข้ารับบริการสาธารณสุขที่โรงพยาบาลเป้าหมาย 8 แห่งภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ในส่วนภูมิภาค 5 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไปในส่วนภูมิภาค 1 แห่ง และโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ถึง มิถุนายน 2559 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และการสำรวจสภาพแวดล้อมและบริบทของโรงพยาบาลเป้าหมาย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอข้อค้นพบ ผลการศึกษาพบว่า สามประเด็นที่เป็นปัญหาหลักของชาวไทยมุสลิม เมื่อเข้ารับบริการสาธารณสุขในโรงพยาบาลรัฐ ได้แก่ 1) โรงพยาบาลรัฐไม่มีการจัดบริการอาหารฮาลาลสำหรับผู้ป่วยมุสลิม 2) ไม่มีห้องละหมาด และ 3) ไม่มีสถานที่อาบน้ำละหมาดเฉพาะซึ่งแยกบริเวณชาย-หญิง ตามลำดับ และสิ่งที่ชาวไทยมุสลิมต้องการให้ทางโรงพยาบาลรัฐจัดบริการเมื่อต้องเข้ารับบริการสาธารณสุขเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีอิสลาม ได้แก่ 1) มีห้องละหมาดไว้บริการ 2) มีสถานที่อาบน้ำละหมาดเฉพาะซึ่งแยกบริเวณชาย-หญิง และ 3) มีร้านอาหารอิสลามภายในโรงพยาบาล ผลที่ได้จากการศึกษานี้จะถูกนำเสนอต่อผู้บริหารโรงพยาบาลเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้พัฒนาปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขให้สอดคล้องกับวิถีอิสลามตามบริบทของพื้นที่และต้นทุนทางสังคม           This qualitative research was a part of the research project entitled “Needs for Thai Muslim: Gaps in Thai Health Service System”. The objectives of this research were to explore problems and needs of Thai Muslim when they gained access to health service system. Fifty two key informants were selected from 8 government hospitals under the supervision of the Ministry of Public Health which included 5 regional hospitals, 1 provincial hospital and 2 hospitals in Bangkok. Interview, in-depth interview, observation and survey were conducted during December 2015 to June 2016. Data collected from the interviews were described in frequency and percentage whereas content analysis was used for in-depth interview. The results showed that three main problems for Thai Muslim were no service in halal food for Muslim patients, prayer room, and place for ablution and separating for male and female, respectively. Moreover, the three things that Thai Muslim needed for health service based on Islamic way were prayer room, place for ablution and separating for male and female, and halal food shop in the hospital, respectively. These results would be presented to the executives of hospitals and related organizations to improve health service system based on Islamic way according to area specific and social cost.

Downloads