การหกล้มในผู้สูงอายุที่กระดูกพรุน: สาเหตุและการป้องกันด้วยการออกกำลังกาย
Keywords:
ผู้สูงอายุ, โรคกระดูกพรุน, การทรงท่า, การล้ม, การออกกำลังกายป้องกันการล้มAbstract
สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว เนื่องด้วยการพัฒนาทางการแพทย์ที่ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีและอายุยืนยาว มีรายงานว่าจะมีผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 18 ในปีพุทธศักราช 2563 ต้องมีการเตรียมความพร้อมทางการแพทย์มากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงเป็นบทบาทของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะนักกายภาพบำบัดที่ต้องพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และสิ่งที่ดีที่สุดคือการป้องกัน โดยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและทางกล้ามเนื้อกระดูก ข้อต่อ และระบบประสาท ที่เสื่อมถอยลงในผู้สูงอายุ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงคือ”กระดูกพรุน” โดยพบว่าอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มมากขึ้น เสี่ยงต่อกระดูกหักเมื่อล้มทำให้สูญเสียการเคลื่อนไหว ไม่มั่นใจ กระทบต่อความสามารถในการทรงท่า ทั้งขณะอยู่นิ่งและขณะเคลื่อนไหว ในกิจกรรมที่แตกต่างในการดำรง ชีวิตประจำวัน เมื่อทรงท่าได้ไม่ดี จะทำให้เสี่ยงต่อการล้ม ซึ่งอาจจะทำให้กระดูกหัก กลัวการล้ม ทำให้ต้องฟื้นฟูนาน คุณภาพชีวิตลดลง จึงเป็นที่มาและความสำคัญในการตรวจประเมินการทรงท่าและความเสี่ยงต่อการล้มในผู้สูงอายุที่กระดูกพรุน เพื่อค้นหาความเสี่ยงและปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดการล้ม แล้วนำไปสู่การวางแผนการออกกำลังกายด้วยการทรงท่า ป้องกันการล้ม ป้องกันการพิการ ลดภาระการดูแลของบุตร ภาระต่อสังคม และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพจากภาครัฐ Thailand has become an aging society caused by the improvement of medical services which result in better health and long lives. The aging population has been reported more than 18 percent in 2020. Medical service should be prepared to meet the need of community change. This is the responsibility of the medical personnel, especially physical therapist to promote aging health service and prevention is the best. Considering the decline of neuro-physiological activities of muscles, bones, and joints in aging population, aging and osteoporosis is a risk factor which leads to bone fracture when falling. This results in a decreased range of motion, no confidence affecting static and dynamic balance in different activities in daily lives. Poor balance is risk to falling, bone fracture, fear to falling and decrease quality of life. Balance and potential of falling in aging that has osteoporosis must be evaluation for risk factor for falling prevention by balance exercise. Prevent deformity, family or social dependent status and decrease health care costs of the government.Downloads
Issue
Section
Articles