การพัฒนาเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยเพื่อการเฝ้าระวังการรับสัมผัสสารพาราควอตในเกษตรกร ผู้ฉีดพ่นสารพาราควอต

Authors

  • จุฑามาศ ฉากครบุรี
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง
  • วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล

Keywords:

เมตริกความเสี่ยง, ความเสี่ยงต่อมนุษย์, อาการผิดปกติ, รับสัมผัสผ่านทางการหายใจ, พาราควอต, risk matrix, Paraquat

Abstract

          การศึกษารูปแบบภาคตัดขวางเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัย ต่อการรับสัมผัสสารพาราควอต เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ผู้ฉีดพ่น อำเภอหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่นใช้ข้อมูลส่วนบุคคล การทำงาน เพื่อประเมินการการรับสัมผัสสารพาราควอตผ่านการหายใจ และพัฒนาเมตริกความเสี่ยงที่พิจารณาความรุนแรงจากอาการผิดปกติ พิจารณาโอกาสจากความถี่การรับสัมผัสร่วมกับค่ามัธยฐานความเข้มข้นของสารพาราควอต เท่ากับ 6.851 μg/m3 ที่เก็บตัวอย่างอากาศในกล่องทดลอง (n=7) พบการรับสัมผัสอยู่ในช่วง 0.006-2.527 μg/kg/day สามารถอธิบายได้ว่าการรับสัมผัสสารพาราควอตทางการหายใจที่ความเข้มข้นต่ำกว่าร้อยละ 10 ของค่าขีดจำกัดการสัมผัส (OEL=100 ug/m3) ส่งผลต่อความเสี่ยงต่อมนุษย์ที่สูงกว่าค่าที่ยอมรับได้จากเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยร้อยละ 34.48 และจากสมการคำนวณต่อการรับสัมผัสของมนุษย์ (เมื่อ HQ>1) ระยะยาวร้อยละ 10.34 ระยะสั้นร้อยละ 10.34 และผลจำเพาะต่อปอดเป็นความเสี่ยงระดับยอมรับได้ ดังนั้นข้อมูลนี้จึงมีประโยชน์ต่องานด้านสาธารณสุขและเกษตรกรผู้ฉีดพ่นเพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังอันตรายทางสุขภาพจากการรับสัมผัสสารพาราควอต และการป้องกันการรับสัมผัสสารพาราควอตเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจขณะฉีดพ่นโดยนำเมตริกความเสี่ยงทางอาชีวอนามัยนี้ไปทดลองใช้ประเมินความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ฉีดพ่นที่มีการตรวจวัดความเข้มข้นของสารพาราควอตจริง เพื่อการเผยแพร่เมตริกความเสี่ยงนี้ไปใช้ในการเฝ้าระวังการรับสัมผัสสารพาราควอตต่อไป           The cross-sectional survey study aimed to develop occupational health risk matrix on airborne paraquat exposure of knapsack sprayers. The study conducted in paraquat knapsack sprayers in one district of Khon Kaen province, Thailand. Personal and working characteristics of sprayers were used for inhalation intake estimation and develop occupational health risk matrix severity concerned adverse symptoms experience, considering likelihood of paraquat exposure and concentration (were calculated at median airborne paraquat concentration 6.851 μg/m3 from the experimental model n=7). The estimation intakes ranged between 0.006-2.527 μg/kg/day. It can be explained that exposure to paraquat on inhalation route at the concentration which was lower than 10% of the occupational exposure limited level (OEL=100 μg/m3) had higher risk than an acceptable level from occupational health risk 34.48%, from risk estimation was presented by hazard quotient (when HQ>1)10.34% of knapsack sprayers were at risk of long term exposure, 10.34% for short term exposure, acceptable risk level for chronic pneumonitis. The finding risk matrix is useful for public health sectors and sprayers for the surveillance program and prevention on inhalation exposure to paraquat while field spraying. The measurement of inhaled paraquat while spraying for concentration use in the developed matrix would support further the distribution of this occupational health risk matrix in health surveillance program of paraquat exposure.

Downloads