ความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
Keywords:
ความรู้, พฤติกรรม, การดูแลสุขภาพ, ชาติพันธุ์อาข่าAbstract
การวิจัยภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการ ดูแลสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนกลุ่ม ชาติพันธุ์อาข่า โดยสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) ตามกลุ่มอายุ ตั้งแต่อายุ 15-85 ปี จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านได้เท่ากับ 0.99 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเรื่องความรู้ใช้สูตร KR-21 ได้เท่ากับ 0.73 ส่วนแบบสอบถามเรื่องพฤติกรรมใช้วิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Chronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สถิติ Spearman’s Rank Correlation Coefficient ผลการวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.50) หนึ่งในสี่มีอายุระหว่าง 26-35 ปี อายุเฉลี่ย (ค่าเฉลี่ย ±S.D. = 40.00±15.64) ปี มีสถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 66.50) ไม่ได้เรียนหนังสือ (ร้อยละ 62.00) อาชีพเกษตรกร (ร้อยละ 64.50) นับถือศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 66.50) ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว (ร้อยละ 91.50) ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (ร้อยละ 99.00) ระดับความรู้ในการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 69.50) ระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 71.50) และความรู้กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.320, p = 0.000) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดูแลสิ่งแวดล้อม การจัดการอารมณ์และการออกกำลังกายที่เหมาะสมเพื่อให้มีสุขภาพดีต่อไป The purpose of this cross-sectional study focused on exploring the correlations between healthcare knowledge and behaviors of Akha Ethnic Group in Mae Suai District, Chiang Rai Province. For data collection, 200 Akha respondents with the ages of 15-85 were selected by quota sampling technique. A self-administered questionnaire with construct validity of 0.99, KR-21 reliability of 0.73, and the Cronbach’s alpha reliability of 0.81 was used for data collection. The data were analyzed using frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and the Spearman’s rank correlation coefficient. The results of the study revealed that there were 53.50% female informants, with the ages of 26-35 (average ±S.D. = 40.00±15.64), married (66.50%), no education (62.00%), agricultural work (64.50%), and Christian (66.50%). They had no congenital disease (91.50%) and no past history of illness (99.00%). Their healthcare knowledge was at a high level (69.50%). Their behavior towards healthcare was at a moderate level (71.50%). The knowledge and behaviors for healthcare were positively related (r = 0.320, p = 0.000). We recommend that the results of this study can be used for developing the Akha’s healthcare behaviors in regards to nutritional behaviors, environmental cares, as well as emotional management and physical fitness.Downloads
Issue
Section
Articles