ทุนชีวิตกับพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย

Authors

  • พรนภา หอมสินธุ์
  • รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์

Keywords:

ทุนชีวิต, วัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, พฤติกรรมเสี่ยง, ความบกพร่องทางการได้ยิน

Abstract

          การศึกษาวิจัยแบบบรรยายเชิงหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนชีวิตกับพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นที่ความบกพร่องทางการได้ยิน และกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนโสตศึกษา ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย จำนวน 226 คนจากการสุ่มแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลทุนชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทุนชีวิตโดยรวมผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับดีมาก (87.76%) สูบบุหรี่ร้อยละ 26.5 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 52.2 ทุนชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ ได้แก่ ทุนชีวิตด้านพลังตัวตน (p=.033) พลังสร้างปัญญา (p=.001) พลังเพื่อนและกิจกรรม (p=.045) และพลังชุมชน (p=.002) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่มีทุนชีวิตใดที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นจึงควรสร้างเสริมทุนชีวิตเพื่อ เกิดพลังทางบวกและเป็นภูมิคุ้มกันป้องกันวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจากพฤติกรรมเสี่ยง           This descriptive correlational research aimed to explore life assets and risk behaviors including smoking and alcohol drinking, and to examine the relationship between life assets and risk behaviors among hearing impaired adolescents. The subjects were 226 secondary school students in the schools for the deaf in central and eastern Thailand. They were randomly selected with cluster random sampling. Data were collected with self-administered questionnaires including personal data, life assets, and risk behaviors. Statistics including descriptive statistic and t-test were used for data analysis. The findings demonstrated that the subjects’ overall life assets were at a very good level (87.76%). The smoking and alcohol prevalence were 26.5% and 52.2% respectively. Life assets; power of self (p=.033), power of wisdom (p=.001), power of peer and activity (p=.045), and power of community (p=.002) were significantly associated with smoking. No aspect of life assets was related to alcohol drinking. Therefore, life assets should be promoted as a positive power and a protective attribute of the hearing impaired adolescents to abate risk behaviors.

Downloads