ประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริม การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

Authors

  • ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์
  • ประสานศิลป์ คำโฮง
  • วรพล แวงนอก

Keywords:

ทฤษฎีความสามารถตนเอง, พฤติกรรมการออกกำลังกาย, การส่งเสริมการออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุระหว่าง 60 - 80 ปี จำนวน 70 คนการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างมาจากการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่ประกอบด้วยการให้ความรู้ การเสนอตัวแบบ การสาธิตและการฝึกปฏิบัติการให้สิ่งชักจูง ระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดกิจกรรมโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ Paired Samples t-test และ Independent Samples t-test          ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า          1. หลังจากได้รับโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมมีความรู้อยู่ในระดับสูง และมีพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกาย อยู่ในระดับดี          2. หลังการทดลองผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านความคาดหวังในผลลัพธ์การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01           This research aimed to study the effectiveness of the application of self-efficacy theory on exercise promotion behaviors of the elderly in Borabue District, Maha Sarakham Province. The subjects were 70 elderly people, aged between 60 - 80 years old, recruited by the purposive sampling technique, and were divided into the experimental group and the comparison group. Each group consisted of 35 people. The experimental group received the application program based on self-efficacy theory consisting of training, providing a model, demonstration, and persuasive practice. The duration of the activity was 8 weeks. The tool used was the activities planned by applying self-efficacy theory and questionnaires. Data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested using Paired Samples t-test and Independent Samples t-test          The results of the study found that          1. After receiving the application of self-efficacy theory on exercise promotion behavior, the elderly who participated in the program had a high level of knowledge and exercise promoting behavior at a good level.          2. After the experiment, the elderly who participated in the program, applying the self-efficacy theory on exercise promoting behavior, had the average score higher than before the experiment with statistical significance at .05 level, except for the result expectation aspect for health promotion. As for the comparison between groups, it was found that the elderly who participated in the program applying self-efficacy theory had an average score higher than the comparison group with statistical significance at .01 level.

Downloads