ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติสร้างเสริม สุขภาพ ในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • มะลิ โพธิพิมพ์
  • วลัญช์ชยา เขตบำรุง
  • จุน หน่อแก้ว
  • จิรวุฒิ กุจะพันธ์

Keywords:

ประสิทธิผล, การสร้างเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติสร้างเสริมสุขภาพในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมากลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรของ Philippe Glaziou จำนวน 140 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 70 คน เครื่องมือวิจัย คือ โปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ได้ประยุกต์จากทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ และแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.76, 0.88 และ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพภายหลังระหว่างสองกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ความรู้: t =6.03, p< 0.001, 95%CI= 0.71-1.40, ทัศนคติ: t =5.80, p= <0.001, 95%CI=0.10-0.19, การปฏิบัติ: t =8.17, p< 0.001, 95%CI= 0.24-0.51) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ความรู้: t =4.30, p< 0.001, 95%CI= 0.71-2.09, เจตคติ: t =0.01, p= 0.005, 95%CI= 0.02-0.13, การปฏิบัติ: t =8.17, p< 0.001, 95%CI=0.48-0.79)ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ ควรจัดกิจกรรมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีการพัฒนาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป           The objective of this quasi-experimental research was to study the effectiveness of Health Behavioral Promotion Program on knowledge, attitude and practices among Makha Elderly Club, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province. Participants were 140 elders, 70 in experimental group and 70 in control group. The research tools were health promotion program applied from Pender and the questionnaire. Data were analyzed in terms of frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test.          The research findings indicated that the experimental group had the mean score of knowledge, attitude and practice after the experiment higher than before trial and higher than the controlled group at 0.01 significance level. These findings suggested that health care providers should conduct activities to enhance health promotion behavior among the elderly in terms of knowledge, attitudes, and practices.

Downloads