การเปรียบเทียบทักษะการทำงานประสานกันระหว่างมือ-ตา ระหว่างกลุ่มเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่อง เด็กโรคออทิซึมสเปกตรัม และเด็กปกติ

Authors

  • สุชานาถ ทองปรุง
  • มานิกา วิเศษสาธร

Keywords:

การทำงานประสาน, มือ, ตา, เด็ก, โรคการเรียนรู้บกพร่อง, โรคออทิซึมสเปกตรัม

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบทักษะการทำงานประสานกันระหว่างมือ-ตา ในกลุ่มเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่อง โรคออทิซึมสเปกตรัม และเด็กปกติ คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะ เจาะจง กลุ่มละ 30 คน รวม 90 คน โดยกลุ่มเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่องและกลุ่มเด็กโรคออทิซึม-สเปกตรัม เป็นเด็กที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรีส่วนเด็กปกติ กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในโรงเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการประเมินเป็นรายบุคคล โดยประเมินทักษะการทำงานประสานกันระหว่างมือ-ตา ด้วยแบบทดสอบ Bender Visual-Motor Gestalt Test, Second Edition (Bender-Gestalt II) โดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติแบบ One - way ANOVA ในการวิเคราะห์ผลการทดสอบจากแบบทดสอบ Bender-Gestalt II และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีการ Scheffé และด้วยวิธีการ Dunnett’s T3.          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนจากแบบทดสอบ Bender-Gestalt II แตกต่างกันทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลการเปรียบเทียบรายคู่แสดงให้เห็นว่าเด็กปกติมีคะแนนจากแบบทดสอบ Bender-Gestalt II มากกว่า เด็กโรคการเรียนรู้บกพร่อง และเด็กโรคออทิซึมสเปกตรัมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่องมีคะแนนจากแบบทดสอบ Bender-Gestalt II ทุกด้านไม่แตกต่างกับเด็กโรคออทิซึมสเปกตรัมที่ระดับนัยสำคัญ .01          ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า เด็กปกติมีทักษะการทำงานประสานกันระหว่างมือ-ตา ดีกว่าเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่อง และเด็กโรคออทิซึมสเปกตรัมทุกด้าน และผลที่ได้จากการทดสอบ Bender-Gestalt II ในเด็กโรคการเรียนรู้บกพร่องและโรคออทิซึมสเปกตรัม ใช้ในการวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หรือส่งเสริมพัฒนาการ ให้ตรงกับความบกพร่องของเด็กแต่ละคน เพื่อประโยชน์ในการเรียนระดับที่สูงขึ้น การประกอบกิจวัตรประจำวัน ตลอดจนการประกอบอาชีพในอนาคต           In this research investigation, the researcher compares the test results for visual-motor integration skills in children with specific learning disorders, autism spectrum disorders, and those for normal children. Two specific sample groups of 30 children each, and 30 normal children were selected for the study. Children with specific learning disorder and with autism spectrum disorder were admitted for treatment at a hospital in Ratchaburi province. Normal children were studying at primary and secondary in schools in the Ratchaburi- Educational Service Area. All sample groups were individually evaluated on the visual-motor integration skills with the Bender Visual-Motor Gestalt Test, Second Edition (Bender-Gestalt II). Basic Statistics, Mean, Standard Deviation and Percentage were used to describe the personal data of sample groups, and the One-way ANOVA were used to analyze the results of the Bender-Gestalt II. Scheffé’s method were used and Dunnett’s T3 method to analyze the differences in pair.          The results of the research revealed that the members of the sample population exhibited concomitant differences in scores on the Bender-Gestalt II in all aspects at the statistically significant level of .01. Multiple comparisons showed that normal children evinced corresponding scores on Bender-Gestalt II at a higher level than those in the specific learning disorders and the autism spectrum disorders in all aspects at a statistically significant level of .05. However, children in the specific learning disorders did not display associated differences in scores on the Bender-Gestalt II in all aspects in comparison with those belonging to the autism spectrum disorders at the statistically significant level of .01. Normal children have better visual-motor integration skills than children with specific learning disorders and autism spectrum disorders in all aspects, and the results obtained from the Bender-Gestalt II in children with specific learning disorders and autism spectrum disorders will be applied to plan the schooling activities or to support their developments by matching with each child’s individual disorders for their benefits in learning in higher levels, doing daily routines as well as earning a living in the future.

Downloads