ทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซํ้าของมารดาวัยรุ่นในจังหวัดอุบลราชธานี

Authors

  • ธัญพัฒน ฤทธิผล
  • พรนภา หอมสินธุ์
  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ

Keywords:

ทุนชีวิต, วัยรุ่น, การตั้งครรภ์, การตั้งครรภ์ซํ้า, มารดา, จังหวัดอุบลราชธานี

Abstract

          การศึกษาเชิงหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซํ้าของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือมารดาวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มีอายุ 10-19 ปี และฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลของรัฐบาล จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 192 คน เครื่องมือประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ แบบสอบถามเจตคติต่อการตั้งครรภ์ซํ้า และแบบสอบถามทุนชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Binary logistic regression          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนการตั้งครรภ์ซํ้า ร้อยละ 31.3 ส่วนทุนชีวิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 61.81) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุนชีวิตด้านพลังครอบครัวอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 70.05) พลังตัวตนอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 65.02) ส่วนพลังสร้างปัญญาพลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน ไม่ผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 59.45, 59.19 และ 54.83 ตามลำดับ) และพบว่าทุนชีวิตไม่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซํ้าของมารดาวัยรุ่น ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซํ้าของมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เจตคติต่อการตั้งครรภ์ซํ้า (AOR = 3.34, 95% CI = 1.561-6.770) และเพื่อนรุ่นเดียวกันตั้งครรภ์ซํ้า (AOR = 2.56, 95% CI = 1.651-6.770)          ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงควรพัฒนาโปรแกรมหรือกิจกรรมที่เน้นการส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นมีเจตคติต่อการตั้งครรภ์ซํ้าที่ถูกต้อง และมีกิจกรรมสร้างสรรค์ในระดับต่างๆทั้งที่โรงเรียน ชุมชนและสังคมเพื่อเปิดโอกาสให้วัยรุ่นมีสัมพันธภาพกับเพื่อนส่วนใหญ่ที่มิได้มีพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งจะนำไปสู่การป้องกันการตั้งครรภ์ซํ้าในวัยรุ่นต่อไป           The purposes of this correlational research were to study life assets and factors related to repeated pregnancy among pregnant adolescents. The sample was 192 pregnant adolescents aged 10-19 years old who have received antenatal care from government hospitals in Ubonratchathani province. The instruments included demographic and pregnant data, attitude towards repeated pregnancy, and life asset questionnaires. Data were analyzed using descriptive statistics and binary logistic regression.          Findings of the study showed that 31.3 % of the sample had repeated pregnancy. The overall life assets’ pregnant adolescents were at fair level (61.81%). Among those 5 powers, the power of family was at a good level (70.05%); the power of self was at a fair level (65.02%); the power of wisdom, power of peer and activity, power of community and were not passing criteria (59.45%, 54.83% and 59.19 respectively). Those life assets were not related to repeated pregnancy. The significant factors related to repeated pregnancy were attitude towards repeated pregnancy (AOR = 3.34, 95% CI = 1.561-6.770), and peer repeated pregnancy (AOR = 2.56, 95% CI = 1.651-6.770)          Those who are involved should develop programs focusing on enhancing attitude toward repeated pregnancy and creating activities which are available in all setting; schools, communities, and societies. These will provide a chance for adolescents to make a relationship with peers not having risk behaviors, so as to prevent them from repeated pregnancy.

Downloads