การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • วัชราภรณ์ ทัศนัตร
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

Keywords:

การเฝ้าระวังสุขภาพ, คลอรีน, ปัจจัยเสี่ยง, เมตริก, ความเสี่ยงต่อสุขภาพ

Abstract

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมี 6 ชนิดในสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิคือผลการตรวจวัดความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศการทำงาน พ.ศ. 2560-2561 และผลตรวจสุขภาพของพนักงาน ข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถาม คือข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการทำงานและข้อมูลด้านอาการจากการสัมผัสสารเคมี ประเมินความเสี่ยงโดยใช้เมตริกความเสี่ยง พิจารณาจากความรุนแรงและโอกาสสัมผัสสารเคมีซึ่งจัดเป็น 3 กลุ่มตามความเป็นพิษ ได้แก่ สารกัดกร่อน สารที่มีผลต่อระบบประสาทและฝุ่นละออง ผลการศึกษาพบว่าพนักงานมีอาการระคายเคืองผิวหนัง ดวงตาและระบบทางเดินหายใจจากการสัมผัสคลอรีนและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่แม้ว่าความเข้มข้นของสารเคมีดังกล่าวตํ่ากว่าค่ามาตรฐานที่กฎหมายแรงงานกำหนดก็ตาม ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพพบว่าความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีทั้ง 3 กลุ่มคือระดับปานกลาง ร้อยละ 25.26 ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสสารในกลุ่มกัดกร่อน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงจากการวิเคราะห์ทางสถิติแบบพหุถดถอยโลจิสติก คือการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ความเข้มข้นของคลอรีนเกิน 10% ของค่าขีดจำกัดเฉลี่ยตลอดเวลาทำงาน (Occupational Exposure Limit - Time Weighted Average) และการมีโรคประจำตัว จึงเสนอแนะให้มีแผนการลดความเสี่ยงและควบคุมความเสี่ยงโดยการตรวจวัดความเข้มข้นของสารคลอรีนอย่างน้อย 2 ครั้ง ต่อปี รวมถึงให้มีการเฝ้าระวังทางสุขภาพและการจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงเป็นพิเศษในพนักงานกลุ่มเสี่ยงและพนักงานที่มีโรคประจำตัว           This study aimed to assess health risk of six chemicals exposure among pulp and paper mill workers in northeastern Thailand. The secondary data of chemicals concentrations in the process of pulp and paper factory and the primary data by the interviewed questionnaires including personal information, working information, and adverse symptoms from six hazardous chemicals exposure were used. Health risk assessment was performed with risk matrix considering the likelihood of exposure frequency and adverse symptoms related to chemicals. The hazardous chemicals were classified into 3 groups according to the toxicity of these chemicals, which were the corrosive chemical, the neurotoxicity-related chemical, and particulate matter or dust. Most of workers had respiratory irritation caused by exposure to chlorine and dust and chlorine exposure, although the concentration of such chemicals was lower than that Occupational Exposure Limitation - Time-Weighted Average (OEL-TWA) by Thai Labor regulation. The results of health risk assessment showed that the risk of all 3 chemical groups exposure was at a moderate level according to that most of workers had exposed to chemical irritation of respiratory tract group (25.26%). The significant factors correlated with a moderate risk by multiple logistic regression analysis were working in areas that chlorine concentration higher than 10% of OELTWA and had underlying disease. The suggestion is that there should be planning for risk reduction and control by industrial hygiene monitoring of chlorine twice a year, including the promoting health surveillance program by using matrix of risk assessment and medical examination program in moderate risk employees, particularly workers who had chronic diseases.

Downloads