ความชุกของการสูญเสียการได้ยินและการสัมผัสเสียงของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น

Authors

  • กนกวรรณ อาจแก้ว
  • วิชัย พฤกษ์ธาราธิกูล
  • สุนิสา ชายเกลี้ยง

Keywords:

หูหนวก, การได้ยิน, ความบกพร่องทางการได้ยิน, ระดับเสียง, ในเวลาการทำงาน

Abstract

          การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการสูญเสียการได้ยิน ประเมินการสัมผัสเสียงดังและหาความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสเสียงดังในพื้นที่การทำงานกับการสูญเสียการได้ยินของพนักงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ทำความเย็น เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์และการตรวจวัดเสียงในพื้นที่การทำงาน การประเมินการสัมผัสระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน (Time Weighted Average-TWA) ใช้ผลการตรวจวัดสมรรถภาพการได้ยินย้อนหลัง 2 ปี และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการสูญเสียการได้ยินกับการทำงานสัมผัสเสียงดังในแผนกด้วยสถิติ Chi-square test ผลการศึกษาพบว่า แผนกที่มีระดับเสียงในพื้นที่การทำงานสูงสุดคือ แผนกประกอบ เท่ากับ 91.0 dB(A) ส่วน TWA สูงสุดของกลุ่มพนักงานที่มีสภาวะการทำงานและการสัมผัสปัจจัยที่เหมือนกัน (Similar Exposure Group: SEG) คือ SEG งานประกอบ/เตรียมงานและงานเชื่อมแต้มจุด ทั้ง 2 SEG มีค่า TWA เท่ากับ 93 dB(A) เท่ากัน ความชุกของการสูญเสียการได้ยินคิดเป็นร้อยละ 51.63 โดยแผนกไฟฟ้า-ซ่อมบำรุง, แผนก Tank และแผนก Pump มีพนักงานสูญเสียการได้ยินสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ ร้อยละ 88.8, 83.3 และ 72.7 ตามลำดับ และพบว่าพื้นที่การทำงานที่มีเสียงดังมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะพนักงานแผนกไฟฟ้า-ซ่อมบำรุงและแผนก Tank รวมถึงพนักงานที่ทำงานในพื้นที่ Zone B และ C โดยการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินและสร้างความตระหนักในการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงเพื่อลดการสัมผัสเสียงของพนักงานในพื้นที่แผนกไฟฟ้า-ซ่อมบำรุงและแผนก Tank รวมถึงลักษณะงานที่พบว่ามีเสียงดังมาก เช่น งานเชื่อมและงานประกอบ           The cross-sectional analytic study aimed to study the prevalence of hearing loss and to assess noise exposure and a correlation between noise exposure and hearing loss among workers in air conditioning and refrigeration components manufacturing. Data was collected by using an interviewed questionnaire, measurement of noise level in workplaces, assessment of Time Weighted Average (TWA), audiogram results of the past 2 years were used to evaluate the prevalence of hearing loss. The association between hearing loss and noise exposure was analysis by Chi-square test. The study results revealed that the highest level of noise exposure in the department of assembly at the equivalent continuous sound level (Leq) at 91.0 dB(A). The highest TWA at 93 dB(A) was on groups of workers which have general exposure and working conditions (Similar Exposure Group: SEG) of SEG assembly / preparation and SEG welding. Both SEG have TWA at 93 dB(A). The prevalence of hearing loss among all workers was 51.63% and the top three highest prevalence was in the department of maintenance, department of tank, and department of pump at 88.8%, 83.3% and 72.7%, respectively. The association between hearing loss and the working areas with noise was found significantly. Therefore, these workers in department of maintenance, department of tank and SEGs that work in zone B and C have health surveillance by conduct of a hearing conservation program and raising awareness of using hearing protective devices to reduce noise exposure among workers in the department of Maintenance-Electric and Tank in particularly in zone of high noise level i.e. assembly and welding.

Downloads