การพัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือนในการจัดการขยะมูลฝอย ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
Keywords:
พัฒนาศักยภาพ, แกนนำครัวเรือน, การจัดการ, ขยะมูลฝอยAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือนในการจัดการขยะมูลฝอยและศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาศักยภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำครัวเรือน จำนวน 187 คน จาก 4 หมู่บ้าน คือ บ้านโคกพระ บ้านบุ บ้านใหม่ขามป้อม และบ้านหนองพลวง การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) กระบวนการพัฒนาศักยภาพแกนนำครัวเรือน และ 3) การศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมินผล และถอดบทเรียนจากกระบวนการกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนาศักยภาพแล้วมีความรู้เพิ่มขึ้น มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติ และมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) สำหรับการจัดการขยะในครัวเรือน พบว่ามีการคัดแยกขยะและมีการจัดการขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาลทุกครัวเรือน ได้แก่ 1) ขยะทั่วไปรวบรวมแล้วนำไปฝังกลบ โดยองค์การบริหารส่วนตำบล 2) ขยะอันตรายรวบรวมส่งให้องค์การบริหารส่วนตำบลกำจัด 3) ขยะรีไซเคิลนำไปขาย และ 4) ขยะอินทรีย์นำไปทำน้ำหมัก การวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างเป็นระบบส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีศักยภาพในการจัดการขยะในครัวเรือนเกิดเครือข่ายครัวเรือนจัดการขยะในชุมชน สนองตอบนโยบายของรัฐบาล และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดี This study was action research. The purpose was to develop and explore the results of household leaders’ competence for waste management. The subjects were 187 household leaders from Nongphluang Sub-District, Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province. The study consisted of 3 phases; the 1st phase was the study of the database, the 2nd phase was the development of household leaders’ competence, and the 3rd phase was to study the outcome of development. We collected data by testing form, questionnaire, assessment form, and group process. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and pair t-test. The qualitative data were analyzed by content analysis. Results illustrated that knowledge, perception, expectations, and behavior of waste management, were higher after the competency was developed (p < 0.01). Household waste management revealed that the waste was separated in terms of 1) general waste was taken to the landfill by the Sub-district Administrative Organization. 2) hazardous waste was collected and sent to the Sub-district Administrative Organization. 3) recycling waste was sold and 4) organic waste was taken to composting. This research showed that the process action research advocated the competence development of the household leaders. Waste management network was established in the community, responding to the government policy and enabling the quality of life.Downloads
Issue
Section
Articles