การเปรียบเทียบภาวะเท้าแบนและเท้าปกติในการทรงท่าแบบอยู่นิ่งและเคลื่อนไหว
Keywords:
การทรงตัว, ภาวะเท้าแบน, ความเคลื่อนไหวของมนุษย์Abstract
การเคลื่อนไหวที่มากเกินไปของข้อต่อบริเวณเท้า และการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งการลงน้ำหนักในภาวะเท้าแบนอาจส่งผลต่อการควบคุมการทรงท่า โดยเฉพาะในขณะยืนขาเดียวบนเท้าแบนขณะทำกิจกรรม ดังนั้นการศึกษานี้จึงเปรียบเทียบการทรงท่าแบบอยู่นิ่งโดยยืนทรงท่าบนขาข้างเดียวร่วมกับปิดตา และขณะทดสอบทรงท่าแบบเคลื่อนไหวโดยใช้การทดสอบ star excursion balance ระหว่างผู้ที่มีภาวะเท้าแบนและเท้าปกติ ผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มเท้าแบน (20 คน) และเท้าปกติ (20 คน) จากการวัดความสูงของกระดูกนาวิคูล่าบนขาข้างถนัด และประเมินระยะทางที่สามารถยื่นขาไปได้ไกลที่สุดในการทดสอบ star excursion balance ทั้ง 8 ทิศทาง และประเมินจุดศูนย์กลางแรงกดที่ฝ่าเท้าโดยใช้เครื่อง footscan system ขณะทดสอบการทรงท่าแบบอยู่นิ่งและเคลื่อนไหว ผลงานวิจัยพบว่าข้อมูลการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงกดขณะทรงท่าแบบอยู่นิ่งและระยะทางขณะทดสอบการทรงท่าแบบเคลื่อนไหวไม่มีความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม (p > 0.05) อย่างไรก็ตาม กลุ่มเท้าแบนมีค่าระยะทางการเคลื่อนที่ไกลที่สุด และพื้นที่การแกว่งของจุดศูนย์กลางแรงกด ขณะทดสอบการทรงท่าแบบเคลื่อนไหวในทิศทางด้านใน และด้านหลังเยื้องด้านในมากกว่า กลุ่มเท้าปกติ (p < 0.05) ผลงานวิจัยนี้ยืนยันว่า การทดสอบการทรงท่าแบบอยู่นิ่งอาจไม่เพียงพอที่จะประเมินความแตกต่างในการทรงท่าระหว่างผู้ที่มีภาวะเท้าแบนและเท้าปกติ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีภาวะเท้าแบนมีความยืดหยุ่นของเท้ามากกว่าปกติ และมีการปรับตัวของเท้าขณะทรงท่า ดังนั้นในทางคลินิกจึงควรพิจารณาประเมินการทรงท่าขณะเคลื่อนไหวซึ่งอาจส่งผลต่อปัญหาจากภาวะเท้าแบน Joints hypermobility and changes in surface contact area in the pronated foot may affect postural control especially in unilateral stance over the pronated foot during functional activities. Thus, this study compared the static single limb stance with an eyes-closed condition (SLS) and the dynamic postural stability (star excursion balance test: SEBT) between pronated and normal foot postures. The participants were classified as a pronated foot (n=20) and normal foot (n=20) based on the navicular drop test on dominance leg. They were evaluated maximum reach distance during SEBT in 8 directions. We measured the center of pressure by the footscan system during SLS and SEBT. The results showed that the center of pressure during SLS and maximum reach distance during SEBT were not significantly different between both groups (p > 0.05). However, the pronated foot group had a significantly greater maximum distance and the sway area of the center of pressure during SEBT in medial and posteromedial directions than normal foot group (p < 0.05). These results confirmed that the static postura stability test may not be adequate to assess the difference between pronated and normal foot. However, the pronated foot persons had greater flexibility and adaptability of the foot. Therefore, the clinician should consider evaluating the dynamic postural stability which may affect the pronated foot problems.Downloads
Issue
Section
Articles