ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพและการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ของประชาชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย

Authors

  • มณุเชษฐ์ มะโนธรรม
  • พัชรา ก้อยชูสกุล
  • พัชรินทร์ วินยางค์กูล
  • อนุสรา พงค์จันตา
  • จุฑามาศ เมืองมูล
  • กรรณิการ์ เทพกิจ

Keywords:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การส่งเสริมสุขภาพ, หลัก 3อ.2ส., กลุ่มชาติพันธุ์

Abstract

          การวิจัยภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพกับการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ของประชาชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุระหว่าง 15-90 ปี จำนวน 600 คน ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มชาวไทยพื้นราบ 400 คน กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ 100 คน และกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า 100 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเรื่องความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพใช้สูตร KR-21 ได้เท่ากับ .76. ส่วนแบบสอบถามเรื่องการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ใช้วิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ .91. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Spearman’s Rank Correlation Coefficient ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชาวไทยพื้นราบ ร้อยละ 65.50 มีระดับความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลัก 3 อ. 2 ส. อยู่ในระดับดีมาก กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ร้อยละ 48.00 และกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ร้อยละ 53.00 มีระดับความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามหลัก 3 อ. 2 ส. อยู่ในระดับไม่ดีในขณะที่ระดับการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ของกลุ่มชาวไทยพื้นราบ ร้อยละ 61.00 กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ร้อยละ 51.00 และกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ร้อยละ 52.00 อยู่ในระดับไม่ดี และเมื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพกับการจัดการเงื่อนไขของตนเองเพื่อเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในกลุ่มชาวไทยพื้นราบ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ ทางสถิติ (rs = -.047, p = .346) แต่พบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่และกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ตามลำดับ (rs = .489, p = <.001; rs = .570, p = <.001) ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเสริมสร้างสุขภาพตามหลัก 3 อ. 2 ส. ในกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ              This cross-sectional study aimed to describe the relationship between knowledge and understanding of health and management of self condition for health promotion according to Thai Health Promotion Guidelines among cultural diversity people in Chiang Rai Province. Purposive sampling was used to recruit 600 participants aged between 15-90 years old, consisting of the 400 Thai participants, 100 Lahu and 100 Akha ethnic groups. Data were collected with self-administered questionnaires consisted of knowledge and understanding of health and management of self condition for health promotion according to Thai Health Promotion guidelines. The reliability of knowledge and understanding of health questionnaire and management of self condition for health promotion according to Thai Health Promotion guidelines were .76. (KR-21) and α .91. Descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and Standard Deviation was used to describe data and Spearman’s Rank Correlation Coefficient was used to test correlation. The findings showed that over a half of the Thai people (65.50%) had good knowledge and understanding of health according to Thai Health Promotion guidelines. In contrast, 48.00% of Lahu and 53.00% of Akha ethnic groups had poor knowledge and understanding of health according to Thai Health Promotion guidelines. Furthermore, 61.00% of the Thai people, 51.00% of Lahu and 52.00% of Akha ethnic groups had the management of self condition at low level. The bivariate analysis indicated that in Thai people, knowledge and understanding of health was not associated with management of self condition for health promotion (rs = -.047, p =.346). In Lahu and Akha ethnic groups, knowledge and understanding of health was significantly related to the management of self condition for health promotion (rs = .489, p = <.001; rs = .570, p = <.001). Research suggests that to promote Thai Health Promotion guidelines should be addressed in the sub-ethnic group because they were limited health literacy.

Downloads