ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในแรงงานต่างด้าว จังหวัดนครราชสีมา

Authors

  • วรารัตน์ สังวะลี
  • จุน หน่อแก้ว
  • จิรวุฒิ กุจะพันธ์

Keywords:

การดูแลสุขภาพ, การป้องกัน, การควบคุม โรคพยาธิใบไม้ตับ, โปรแกรมสุขศึกษา, แรงงานต่างด้าว

Abstract

          การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับ ของแรงงานต่างด้าว ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดนครราชสีมา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับกิจกรรมการให้สุขศึกษา ประกอบด้วย การให้ความรู้ การสาธิต และการสื่อสารโดยสื่อโปสเตอร์ และแผ่นพับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัว โดยใช้สถิติ Paired sample t-test ทำการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับหลังได้รับโปรแกรมสุขศึกษา มากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับอย่างชัดเจน ดังนั้น การให้สุขศึกษาในกลุ่มแรงงานต่างด้าวเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นเพื่อลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อปรสิต           This quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of health education program in prevention and control of opisthorchiasis among migrant workers in Nakhon Ratchasima province. The data were collected through questionnaires form 45 migrant workers. The trial period was 12 weeks. The participants received health education program including education, demonstration, posters and brochures. The data was analyzed using percentage, mean and standard deviation. The pair sample t-test was used to compare the difference of the knowledge, attitude and practice. The study was conducted from June 2017 to October 2018. The results found that the participants’ health knowledge, attitude and practice in prevention and control of opisthorchiasis were higher than before the experiment was conducted (p-value <0.001). This study suggested that migrant workers who received health education program improved their behavior in prevention and control of opisthorchiasis. Therefore, health education for all migrant workers is necessary in order to reduce the incidence of parasitic infection.

Downloads