โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านจิตวิทยากับพฤติกรรมขับขี่ไม่ปลอดภัยในจังหวัดภูเก็ต

Authors

  • ณัฐจิต อ้นเมฆ
  • จินดา คงเจริญ
  • อัญมณี ตนคลัง
  • อาริสา เอ็มบุตร

Abstract

ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการจราจรคับคั่งทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอยู่ค่อนข้างสูงในประเทศไทย การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยทัศนคติด้านความปลอดภัย การควบคุมอารมณ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ขับขี่ยานพาหนะที่มีใบอนุญาตขับขี่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น และใช้สูตรของยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง ผลการศึกษา พบว่า ทัศนคติด้านความปลอดภัยของผู้ขับขี่อยู่ในระดับปานกลางแต่การควบคุมอารมณ์พบอยู่ในระดับน้อย มักระบายอารมณ์ด้วยพฤติกรรมขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยเป็นบางครั้ง รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านจิตวิทยาและพฤติกรรมขับขี่ไม่ปลอดภัยมีความสอดคล้องกับขอ้ มูลเชิงประจักษ์ (X2/df = 1.858, GFI = 0.970, CFI = 0.965, RMSEA = 0.046) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมขับขี่ที่ไม่ปลอดภัยคือ การควบคุมอารมณ์ (p-value< 0.05) และทัศนคติด้านความปลอดภัย (p-value = 0.031) ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้นภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหามาตรการที่จะช่วยพัฒนาหรือส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจราจรให้ลดน้อยลง            Phuket is the province with heavy traffic congestion from both locals and tourists leading to high injury rate and mortality rate from traffic accidents in the rank of Thailand. The main purpose of this research was to investigate the factors affecting unsafe driving behaviors including driving attitude and emotional control. The instrument in this research was a questionnaire. The sample consisted of 400 people who had a driving license in Phuket. The sample size was calculated based on Yamane formula, and the study subjects were selected by stratified random sampling. The data were analyzed using descriptive statistics and structural equation modeling. The results showed that safety attitude score of the drivers was at a medium level, emotional control was at a low level leading to unsafe driving behaviors at times. The model regarding the unsafe driving behaviors were in accordance with empirical data (X2/df = 1.858, GFI = 0.970, CFI = 0.965, RMSEA = 0.046). Our findings revealed that the important factors associated with unsafe driving behaviors were emotional control, followed by driving attitude. Moreover, unsafe driving behavior contributed to increasing traffic accidents. Therefore, the government or related agencies should find measures that would help develop or promote activities to reduce traffic accidents.

Downloads

Published

2022-11-01