ปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน และการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนที่สัมผัส อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

Authors

  • อัญชลี พงศ์เกษตร
  • ชมพูนุช สุภาพวานิช
  • จามรี สอนบุตร

Abstract

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 10 ไมครอน: PM10 (Particulate Matter < 10 microns) และประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชนที่สัมผัส PM10 อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากกรมควบคุมมลพิษ เพื่อหาปริมาณ PM10 และจากสถานีอุตุนิยมวิทยา จังหวัดยะลา เพื่อศึกษาสภาพภูมิอากาศ ศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี 2551-2560 หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และคำนวณความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยคำนวณดัชนีอันตราย ตามการประเมินความเสี่ยงของ EPA (Environmental Protection Agency) ผลการวิจัยพบว่า ความชื้นสัมพัทธ์ มีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มข้น PM10 ในทางตรงกันข้าม (r = -0.214, P < .05) และสามารถทำนายปริมาณความเข้มข้น PM10 ได้ ร้อยละ 4.6 (P < 0.05) และเมื่อจำแนกตามฤดูกาล ในฤดูร้อนปริมาณน้ำฝนมีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มข้น PM10 ในทางตรงกันข้าม (r = -0.324, P < 0.05) สามารถทำนายปริมาณความเข้มข้น PM10 ในฤดูร้อน ได้ ร้อยละ 10.5 (P < 0.05) ส่วนในฤดูฝนความชื้นสัมพัทธ์มีความสัมพันธ์กับปริมาณความเข้มข้น PM10 ในทางตรงกันข้าม (r = -0.337, P < 0.01) สามารถทำนายปริมาณ PM10 ในฤดูฝนได้ ร้อยละ 11.4 (P < .05) และค่า HI (Hazard Index) มีค่า 17.27 ซึ่ง > 1 แสดงว่าประชาชนในเขตอำเภอเมืองยะลา มีความเสี่ยงจากปริมาณความเข้มข้น PM10 ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรควบคุมที่แหล่งกำเนิด โดยการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง พ่นละอองน้ำเพื่อควบคุมหมอกควันจากไฟป่าอินโดนีเซีย และส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน โดยการใช้หน้ากากอนามัย        This descriptive research aimed to study meteorological factors related to PM10 and health risk assessment for residents exposed to Particulate Matter < 10 microns (PM10) in Yala city, Yala Province. The secondary data were derived from the Pollution Control Department for PM10 and the meteorological station of Yala province for meteorological data from 2008-2017. The data were analyzed using Pearson Product Moment Correlation Coefficient, Stepwise Multiple Linear Regression. Health risk was calculated based on the Environmental Protection Agency; EPA’s risk assessment methodology. The study found that there was a significant negative correlation between relative humidity and PM10 (r = -0.214, P < 0.05). The humidity could predict the concentration of PM10 at 4.6% (P < 0.05). In dry season, there was a significant negative correlation between rainfall and PM10 (r = -0.324, P < 0.05), and could predict the concentration of PM10 at 10.5% (P< 0.05). In rainy season, a significant negative correlation was found between relative humidity and PM10 (r =-0.377, P< 0.01), and could predict the concentration of PM10 at 11.4% (P < 0.05). Hazard Index (HI) was found at 17.27 which was higher than 1. This indicated that there was a risk of residents exposed to PM10 in Yala city. The government concerned should control the pollution at sources by improving quality of fuel, spraying water due to haze from Indonesia and promote self-care of people by using mask.

Downloads

Published

2022-11-01