การสำรวจความต้องการต่อการตรวจสารเคมีที่มีความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมและศักยภาพในการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการพิษวิทยาเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

The Survey of Examination Demand on Important Chemicals from the Industrial Sector and Potential to Analyze of Toxicological Laboratory to Support the Eastern Economic Corridor

Authors

  • ฌาน ปัทมะ พลยง
  • พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์
  • สุรทิน มาลีหวล
  • ศุภชัย เอี่ยมกุลวรพงษ์
  • มริสสา กองสมบัติสุข
  • ฉันทนา ผดุงทศ
  • ณัฐพงศ์ แหละหมัน

Keywords:

สารเคมีที่สำคัญ, ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ, ศักยภาพในการวิเคราะห์, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, Important chemicals, Biomarkers, Potential to analyze, Eastern Economic Corridor

Abstract

การศึกษารูปแบบผสมผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุชนิดของสารเคมีหรือตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่สำคัญและสำรวจศักยภาพห้องปฏิบัติการทางพิษวิทยาในการรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มภาคอุตสาหกรรมและกลุ่มหน่วยงานให้บริการด้านสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านทางแอปพลิเคชันกูเกิลฟอร์ม และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การประชุมแบบฉันทามติโดยคณะกรรมผู้เชี่ยวชาญตามคำสั่งแต่งตั้งของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รวบรวมข้อมูลระหว่างมีนาคม-กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การพรรณนาร่วมกับการอภิปรายผล ผลการศึกษา พบว่า การตอบกลับข้อมูลของโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 25 แห่ง (ร้อยละ 50.0) และหน่วยงานให้บริการด้านสุขภาพ จำนวน 9 แห่ง (ร้อยละ 90.0) จากการสำรวจความต้องการในการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและการพิจารณาฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญได้ระบุชนิดของสารอินทรีย์ระเหยง่ายที่สำคัญต้องเฝ้าระวัง จำนวน 11 ชนิด ได้แก่ เบนซีน 1,3- บิวทาไดอีน 1,2-ไดคลอโรอีเทน โทลูอีน สไตรีน ไซลีน เอทิลเบนซีน อะซิโตน เมทธิวเอทธิวคีโตน เมทธิวไอโซบิวทิลคีโตน และเอทิลอะซิเตท สำหรับโลหะหนักมีจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท และสารหนู สำหรับหน่วยงานให้บริการด้านสุขภาพในพื้นที่อีอีซี มีความสามารถให้บริการตรวจได้จำนวน 72,715 ตัวอย่างต่อปี ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลคำนวณ เชิงเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและเป็นแนวทางในการพิจารณาพัฒนาห้องปฏิบัติการทางพิษวิทยาให้เพียงพอต่อการรองรับการตรวจเฝ้าระวังสุขภาพของพนักงานและประชาชนในเขตพื้นที่ พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกต่อไป  The mixed-method research aimed to identify the important chemicals or biological indicators and explore the potential of toxicology laboratories in order to support the Eastern Economic Corridor (EEC). The sample groups were split into two groups: industrial sector and health service sector. The quantitative research tool used the questionnaires which were sent by the internet via google form application. The qualitative data was selected from a consensus meeting by an expert committee appointed by the EEC. Data were collected during March-July 2020. The quantitative data was used with descriptive statistics namely the number and the percentage, The qualitative data used to describe with discussion. The results of the study showed that 25 industries (50%) and 9 health care organizations (90%) had the response rates. Experts consensus has identified 11 important VOCs to be monitored: Benzene, 1,3-Butadiene, 1,2-Dichoroethane, Toluene, Styrene, Xylene, Ethyl benzene, Acetone, Methyl Ethyl Ketone, Methyl Isobutyl Ketone, and Ethyl acetate. In addition, health care organizations in the EEC have the ability to provide 72,715 samples per year. The suggestion from the results of the research can be used as the computational health economic data and a guideline for considering the development of a toxicological laboratory. It will support the surveillance on the health of employees and also people in the EEC area.

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2525.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก. อุตสาหกรรมเป้าหมาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.eeco.or.th/th. (วันที่ค้นข้อมูล 21 กันยายน 2562).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนสถานประกอบการตามขนาดของสถานประกอบการ (จำนวนลูกจ้าง) ภาค และจังหวัด พ.ศ. 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/ 12.aspx. (วันที่ค้นข้อมูล 21 กันยายน 2562).

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานผลการตรวจวัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายในบรรยากาศในพื้นที่จังหวัดระยองรายเดือน ปี 2562. กรมควบคุม มลพิษ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www2. pcd.go.th/pollution/. (วันที่ค้นข้อมูล 26 กันยายน 2562).

ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. เรื่อง กำหนดให้ท้องที่เขตมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ และตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ทั้งตำบล ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ทั้งตำบล และตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ทั้งตำบล รวมทั้งพื้นที่ทะเลภายในแนวเขตเป็นเขตควบคุมมลพิษ. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 65 ง ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2552.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี). รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก ปี 2561. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2562.

เมทินา อิสริยานนท์. การทบทวนและปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา: กรณีการจัดการขยะของเสียอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา 2562; 7(2): 1-22.

Joshi DR, Adhikari N. An overview on common organic solvents and toxicity. JPRI 2019; 28(3): 1-18

Hong YS, Song KH, Chung JY. Health effects of chronic arsenic exposure. J Prev Med Public Health 2014; 47: 245-52.

ออมรัตน์ คัมภีวิภากร พนิดา นวสัมฤทธิ์ จีรวันท์ พรหมวิจิตร พจนีย์ หุนสนธิ วราภรณ์ ปานลบ เนตรนภา นาคงาม ศุภชัย ชุนวิเศษและมธุรส รุจิรวัฒน์. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเบนซีนและ 1,3-บิวทาไดอีนของประชากรในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดระยอง. วารสารพิษวิทยาไทย 2558; 30(2): 112-27.

กฎกระทรวง. เรื่อง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2563.

ศุภชัย เอี่ยมกุลวรพงษ์. การรับสัมผัสสารเบนซีนและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากมลพิษสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2556; 22(5): 897-911.

ยุทธนา ยานะ วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ วิชยุตม์ ทัพวงษ์. การสำรวจจำนวนและความสามารถของห้องปฏิบัติ การตรวจวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศไทย พ.ศ. 2557. วารสาร สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 10(1): 50-64.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณารายงานสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Peer review). 2563.

American Conference of Governmental Industrial Hygienists (ACGIH). TLVs and BEIs. 2020.

International Agency for Research on Cancer. (IARC). List of classification. World Health Organization. Available from: https://monographs.iarc.fr/list-of-classifications/. (13 Oct 2020).

อนามัย (ธีรวิโรจน์) เทศกะทึก. พิษสารเคมีจากการทำงานรู้ทันป้องกันได้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

Yoon JH, Seo HS, Lee J, Moon C, Lee K. Acute high-level toluene exposure decreases hippocampal neurogenesis in rats. Toxicology and Industrial Health, 2016. Available from: https://doi.org/10.1177/0748233715599087. (6 Oct 2020).

Guang-di C, Henderson D. Ototoxicity of styrene. Journal of Otology 2011;6(2):1-9.

Sliwinska-Kowalska M, Fuente A, Zamyslowska-Szmytke E. (2020). Cochlear dysfunction is associated with styrene exposure in humans. PLoS ONE, 2020; 15(1). Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0227978. (15 Oct 2020).

U.S. Environmental protection agency. Toxicological review of methyl ethyl ketone. Washinton DC: United States Environmental Protection Agency. 2003.

Downloads

Published

2022-09-26