ความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Stress and Depression of the Elderly with Chronic Diseases in Na Siew Sub-district, Muang Chaiyaphum District, Chaiyaphum Province

Authors

  • ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง
  • ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย
  • อ้อยทิพย์ บัวจันทร์
  • ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์

Keywords:

ความเครียด, ภาวะซึมเศร้า, โรคเรื้อรัง, ผู้สูงอายุ, stress, Depression, Chronic illness, Elderly

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะเครียด และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่เป็นโรคเรื้อรัง ในตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 234 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดความเครียดของสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20, SPST-20) และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย (Thai Geriatric Depression Scale : TGDS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 61.4) รองลงมา คือ เบาหวาน (ร้อยละ 38.6) 2. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 76.35) รองลงมาความเครียดสูง (ร้อยละ 19.9) และมีความเครียดน้อย (ร้อยละ 3.57) 3. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่ ไม่พบภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 76.03 และพบภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 23.97 4. ปัจจัยด้านระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังมีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียด และภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05, 0.01 และ 0.01 ตามลำดับ  The objectives of this study were to evaluate stress and depression of the elderly with chronic illness. The 234 samples used in this study were elderly with chronic illness aged more than 60 years in Na Siew Sub-district, Muang Chaiyaphum District, Chaiyaphum Province. A simple random sampling. The tools used in the research were Suanprung Stress Test-20 and Thai Geriatric Depression Scale (TGDS). Data were analyzed using descriptive statistics, t-test, one way ANOVA and Pearson product moment correlation coefficient. The results showed that: 1. The most common health problems of the elderly was Hypertension (61.4%). Diabetes Mellitus (38.6%) was the second most common health problem. 2. Most of the elderly (76.35%) had moderate stress level, followed by high stress levels (19.9%) and mild stress (3.57%). 3. There was no depression up to 76.03% among the elderly with chronic illness. While depression consisted was mild (23.97%). 4. Education, occupation and income of elderly were associated with stress and depression with statistical significance at the level of 0.05, 0.01 and of 0.01 respectively.

References

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.); 2562.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศสื่อสาร; 2557.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: พงษ์พาณิชย์ เจริญผล; 2555: 8-24.

นิติกร ภู่สุวรรณ, อภิรดี วังคะฮาต. ความเครียดและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. Proceeding of The 9th International Conference on Humanities and Social Sciences, KhonKaen University, Thailand, 2013.

สรร กลิ่นวิชิต, เวธกา กลิ่นวิชิต, พวงทอง อินใจ, พลอยพันธุ์ กลิ่นวิชิต. การประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังในชุมชนเทศบาลเมืองแสนสุขจังหวัดชลบุรี. บูรพาเวชสาร, 2558; 2(1).

พจนา เปลี่ยนเกิด. โรคซึมเศร้า: บทบาทพยาบาลในการดูแลรักษา. วารสารพยาบาลทหารบก, 2557; 15(1): 18-21.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสียว.ข้อมูลประชากร (เอกสารอัดสำเนา). ชัยภูมิ; 2561.

Yamanae, T. Statistics: An Introductory Analysis. London: John Weather Hill, Inc; 1973.

สุวัฒน์ มหัตนิรันทร์กุล และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องการสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย. สารศิริราช, 2537; 46: 1-9.

นิติกร ภู่สุวรรณ. ความเครียดของผู้สูงอายุในเขตตำบลแห่งหนึ่งจังหวัดสกลนคร. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์, 2557; 164-171.

ธันยพร สุรินทร์คํา. วิถีการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีในตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.

ชนะ ธนะสาร, อัมพร ศรีประเสริฐสุข, พิรุณรัตน์ เติมสุขสวัสดิ์, ปทุมพร โพธิ์กาศ, ศุภมิตร บัวเสนาะ, ญาณินี กู่พัฒน์, ณัฐธิดา สุพรรณภพ. การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุกรณีศึกษาผู้สูงอายุในค่ายบุรฉัตรราชบุรี [หลักสูตรจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต; 2553.

อรสา ใยยอง, พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์เศร้าโศกจากการสูญเสียของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 2554; 56(2): 117-128.

มณุเชษฐ์ มะโนธรรม. การเปรียบเทียบระดับความเครียดของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาหมู่บ้านดอยกิ่ว ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก, 2561; 5(2): 50-59.

ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา, มรรยาท เพ็ชรตรา, ทัศพร ชูศักดิ์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2562; 14(2): 88-100.

เกสร มุ้ยจีน. ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2558; 23(2): 306-318.

Downloads

Published

2022-09-26