การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศและระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร

Contamination of Microplastic in Municipal Wastewater Treatment Plant

Authors

  • ธนกาญจน์ ไพศาลพงศ์
  • สุนันทา เลาวัณย์ศิริ
  • จุฑามาส แก้วสุข

Keywords:

ไมโครพลาสติก, ระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศ, ระบบน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร, น้ำเสียชุมชน, Microplastic, Aerated Lagoon, Stabilization Pond, Municipal Wastewater

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนทั้ง 2 แห่งคือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศ (Aerated lagoon) ของเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และระบบน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization pond) ของเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศมีประสิทธิภาพการบำบัดไมโครพลาสติกเท่ากับ 84.35% และสารพอลิเมอร์ของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ Polypropylene เท่ากับ 62% ในขณะที่ตัวอย่างตะกอนพบว่าประสิทธิภาพการบำบัดไมโครพลาสติกในตะกอนจากบ่อเติมอากาศมาจนถึงบ่อตกตะกอนเท่ากับ 39.3% และพอลิเมอร์ของไมโครพลาสติก Polypropylene พบมากที่สุดเท่ากับ 64%  ในขณะที่ระบบน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียรมีประสิทธิภาพการบำบัดไมโครพลาสติก เท่ากับ 77% และสารพอลิเมอร์ไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ Polypropylene เท่ากับ 64% ในขณะที่ตัวอย่างตะกอนพบว่าประสิทธิภาพการบำบัดไมโครพลาสติกจากบ่อเติมอากาศจนถึงบ่อตกตะกอนเท่ากับ 29.30% และสารพอลิเมอร์ของไมโครพลาสติกชนิด Polypropylene พบมากที่สุดเท่ากับ 81%  เมื่อเปรียบเทียบจำนวนไมโครพลาสติกในตัวอย่างน้ำในระบบบำบัดแบบสระเติมอากาศและระบบบำบัดแบบบ่อปรับเสถียร ที่อัตราการไหลน้ำเสีย 35,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน พบว่าจำนวนไมโครพลาสติกที่เข้าสู่ระบบบำบัด การบำบัดไมโครพลาสติก และการปนเปื้อนไมโครพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมของทั้งสองระบบมีค่าใกล้เคียงกัน  This research is a study of microplastic contamination in both municipal wastewater treatment systems were the Aerated Lagoon wastewater treatment system of Khon Kaen Municipality, Muang District, Khon Kaen Province, and the Stabilization Pond wastewater treatment of Udon Thani Municipality, Muang District, Udon Thani Province. The Aerated Lagoon wastewater treatment system has a microplastic treatment efficiency of 84.35%, the most common microplastic polymer was Polypropylene, equal to 62%, while the sludge samples showed that the efficiency of microplastic treatment in the sludge from the aeration pond to the sedimentation pond was 39.3%. While the Stabilization Pond wastewater system has an efficiency of treating microplastics of 77% and the most common polymer microplastics were Polypropylene was 64%, on the one hand, the sludge samples indicated that the efficiency of microplastics treatment from the aeration pond to the sedimentation pond was 29.30% and polymers of microplastics Polypropylene, the most common was 81%. Comparative the number of microplastics in water samples at aeration pond treatment and stabilization pond treatment systems at a wastewater flow rate of 35,000 m3/day. The results, number of microplastics entering the treatment system microplastics treatment and microplastic contamination to the environment for both systems are approximately related.

References

Shruti VC, Jonathan MP, Rodriguez-Espinosa PF, Rodríguez-González F. Microplastics in freshwater sediments of Atoyac River basin, Puebla City, Mexico. Sci Total Environ. 2019; 654:154–63.

Liu W, Zhang J, Liu H, Guo X, Zhang X, Yao X, et al. A review of the removal of microplastics in global wastewater treatment plants: Characteristics and mechanisms. Environ Int. 2021;146: 106277.

Ma Y, Huang A, Cao S, Sun F, Wang L, Guo H, et al. Effects of nanoplastics and microplastics on toxicity, bioaccumulation, and environmental fate of phenanthrene in fresh water. Environ Pollut. 2016;219:166-73.

Dawson AL, Kawaguchi S, King CK, Townsend KA, King R, Huston WM, et al. Turning microplastics into nanoplastics through digestive fragmentation by Antarctic krill. Nat Commun. 2018;9(1):1-8.

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและป่าชายเลน คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา. รายงานฉบับสมบูรณ์การสำรวจและจำแนกตัวอย่างขยะทะเลประเภทไมโครพลาสติกโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและป่าชายเลน. 2557. 1-13 p.

กนกวรรณ เนตรสิงแสง. การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำผิวดินและปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. จังหวัดพิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.

สมิตานัน หยงสตาร์. ขยะพลาสติก : นักวิจัยศูนย์ฯ ทะเล จ.ตรัง พบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู [อินเตอร์เน็ต]. BBC NEWS. 2019 [เข้าถึงเมื่อ 2021 Dec 3]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bbc.com/thai/thailand-49671448

ปิติพงษ์ ธาระมนต์, สุหทัย ไพรสานฑ์กุล, นภาพร เสียดประถม. การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในหอยสองฝาบริเวณชายหาดเจ้าหลาวและชายหาดคุ้งวิมาน จังหวัดจันทบุรี. แก่นเกษตร. 2559;44(1): 738-44.

Magnusson K, Norén F. Screening of microplastic particles in and down-streama wastewater treatment plant. IVL Swedish Environ Res Inst. 2014; C 55(C):22.

Masura J, Baker J, Foster G, Arthur C. Laboratory Methods for the Analysis of Microplastics in the Marine Environment. NOAA Mar Debris Progr Natl. 2015;(July):1-39.

Löder MGJ, Gunnar G. Methodology Used for the Detection and Identification of Microplastics-A Critical Critical Appraisal. In: Marine Anthropogenic Litter. 2015. p. 9-14.

Fuller S, Gautam A. A Procedure for Measuring Microplastics using Pressurized Fluid Extraction. Environ Sci Technol. 2016;50(11):5774-80.

กรมควบคุมมลพิษ. น้ำเสียชุมชนและระบบ บำบัดน้ำเสีย. กรุงเทพมหานคร; 2545. 1-125 p.

Bakaraki Turan N, Sari Erkan H, Onkal Engin G. Microplastics in wastewater treatment plants: Occurrence, fate and identification. Process Saf Environ Prot. 2021;146:77-84.

Pollution Control Department (PCD). Municipal Wastewater Treatment System Manual. กรุงเทพมหานคร; 2017. 99 p.

Talvitie J, Mikola A, Koistinen A, Setälä O. Solutions to microplastic pollution - Removal of microplastics from wastewater effluent with advanced wastewater treatment technologies. Water Res. 2017;123: 401-7.

Long Z, Pan Z, Wang W, Ren J, Yu X, Lin L, et al. Microplastic abundance, charac-teristics, and removal in wastewater treatment plants in a coastal city of China. Water Res. 2019;155:255–65.

จิราพร เกิดแก้ว. การศึกษาผ้าชนิดต่าง ๆ ด้วยเทคนิค ATR-FTIR, TGA และ DSC เพื่อประโยชน์ทางนิติวิทยาศาสตร์. 2558.

เพ็ญศิริ เอกจิตต์, สิริวรรณ รวมแก้ว. ขยะไมโครพลาสติกบริเวณชายหาดฝั่งตะวันตก จ.ภูเก็ต. วารสารสิ่งแวดล้อม. 2562;23 (ฉบับที่ 2).

ชวิน รวิทิวากุล. อันตรายจากไมโครพลาสติก [อินเตอร์เน็ต]. HDmall. 2020 [เข้าถึงเมื่อ 2021 Nov 7]. เข้าถึงได้จาก: https://hd.co.th/microplastic-effect-on-humans

Downloads

Published

2022-11-01