ความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Nutrition literacy and eating behavior among undergraduate students of faculty of public health, Thammasat University

Authors

  • รัตนาภรณ์ สาสีทา
  • คัติยา อีวาโนวิช
  • ฉวีวรรณ บุญสุยา

Keywords:

ความรอบรู้ด้านโภชนาการ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, ความรอบรู้ด้านโภชนาการของวัยรุ่น, nutrition literacy, eating behavior, undergraduate students, nutrition literacy of teenager

Abstract

การศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยระบบ Google form กลุ่มตัวอย่าง 448 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson correlation และ Multiple linear regression ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาอยู่ในระดับต้องปรับปรุงร้อยละ 56 ส่วนความรอบรู้ด้านโภชนาการทั้ง 4 มิติ พบว่านักศึกษามีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการรู้เท่าทันสื่อด้านโภชนาการระดับต้องปรับปรุงร้อยละ 58.3 และ 40.9 การเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการระดับปานกลางร้อยละ 39.7 และการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารอยู่ในระดับสูงร้อยละ 50.7 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านโภชนาการแต่ละมิติกับพฤติกรรมการบริโภค พบว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการ และการรู้เท่าทันสื่อด้านโภชนาการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤ 0.001) โดยนักศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การเข้าถึงข้อมูลด้านโภชนาการ และการรู้เท่าทันสื่อด้านโภชนาการที่ดี จะมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี แต่นักศึกษาที่มีการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารที่ดี พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา  The purpose of this cross-sectional descriptive study was to measure the level of nutrition literacy and eating behavior, and to explain the relationship between nutrition literacy and eating behavior of undergraduate students at Thammasat University. Data were collected by using self-administered questionnaires via a Google form with characteristics of the sample group, nutrition literacy and eating behavior. Descriptive statistics and multivariate regressions at a statistical significance level of 0.05 were performed. The results found that 56% of students had eating behavior that needed improvement, while 36.4% showed a moderate level eating behavior. The students’ nutrition literacy showed that their knowledge and understanding of food consumption, nutrition media and information literacy needed improvement (58.3% and 40.9% respectively). Access to nutrition information was at a moderate level (39.7%). The food choice consumption decision was at a level of 50.7%. In respect of the relationship between each dimension of nutrition literacy and students’ eating behavior, the result found that the knowledge and understanding of food consumption, accessibility of nutrition information and nutrition media literacy had a statistically significant relationship to students’ eating behavior (p-values < 0.001). However, the food choice consumption decision had no significant relationship to eating behavior (p-value = 0.678).

References

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

Stok FM, Renner B, Clarys P, Lien N, Lakerveld J, Deliens T. Understanding Eating Behavior during the Transition from Adolescence to Young Adulthood: A Literature Review and Perspective on Future Research Directions. Nutrients, 2018; 10(6): 667.

Olatona FA, Onabanjo OO, Ugbaja RN, Nnoaham KE, Adelekan DA. Dietary habits and metabolic risk factors for non-communicable diseases in a university undergraduate population. Journal of health, population and nutrition, 2018; 37(1): 1-9.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชน พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคณาอุดมทรัพย์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทย ผลกระทบและแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 2560; 28(1): 122-128.

Perry EA, Thomas H, Samra HR, Edmonstone S, Davidson L, Faulkner A, et al. Identifying attributes of food literacy: a scoping review. Public health nutrition, 2017; 20(13): 2406-2415.

ปนันดา จันทร์สุกรี และวศิน แก้วชาญค้า. รายงานการวิจัยสภาพแวดล้อมทางอาหารภายในมหาวิทยาลัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพของนักศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2561.

Joulaei H, Keshani P, Kaveh MH. Nutrition literacy as a determinant for diet quality amongst young adolescents: A cross sectional study. Prog. Nutr, 2018; 20: 455–464.

Gibbs HD, Ellerbeck EF, Gajewski B, Zhang C, Sullivan DK. The nutrition literacy assessment instrument is a valid and reliable measure of nutrition literacy in adults with chronic disease. Journal of nutrition education and behavior, 2018; 50(3): 247-257.

Cesur B, Kocoglu G, Sumer H. Evaluation instrument of nutrition literacy on adults (EINLA) A validity and reliability study. Journal of Integrative Food, Nutrition and Metabolism, 2015; 2(1): 127-130.

Zoellner J, You W, Connell C, Smith-Ray RL, Allen K, Tucker KL, et al. Health Literacy is associated with Healthy Eating index scores and sugar-sweetened beverage intake: finding from the Rural Lower Mississippi Delta. J Am Die Assoc, 2011; 111(7): 1012-1019.

Kalkan I. The impact of nutrition literacy on the food habits among young adults in Turkey. Nutrition research and practice, 2019; 13(4), 352-357.

ฉวีวรรณ บุญสุยา. ประชากร การเลือกตัวอย่างและขนาดตัวอย่างในการวิจัย: ประมวลสาระชุดวิชาสถิติและการวิจัยในการจัดการสุขภาพ หน่วยที่ 8 (Vol. 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.

ปนันดา จันทร์สุกรี และนิตินัย รุ่งจินดารัตน์. การวิเคราะห์พฤติกรรมเพื่อสุขภาพของวัยรุ่นตอนปลายโดยใช้ตัวชี้วัดทางปัญญาสังคม: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรุงเทพมหา นคร: สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ/สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2558.

ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. พฤติกรรมการบริโภค : อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, 2557; 5(2): 255-264.

ทัศนา ศิริโชติ. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. สงขลา: กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา; 2557.

สถาบันวิจัยประชากรสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2563: สองทศวรรษ ปฏิรูปการศึกษาไทย ความล้มเหลวและความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง; 2563

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2557: ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง สู่การปฏิรูปประเทศจากฐานราก. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิซซิ่ง; 2557

อาทิตย์ ปานนิล. พฤติกรรมการบริโภค อาหารเสริมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขา การบริหารจัดการองค์กร, คณะศิลปศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกริก; 2561.

ฐานันดร สหะวรกุล และสมบัติ ธำรงสินถาวร. ศักยภาพการรู้เท่าทันสื่อที่ส่งผลต่อการตระหนักรู้โฆษณา หลอก ลวงในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในจังหวัดชลบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2561; 2(1): 26-37.

สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. ศึกษาพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 2560; 15(1): 33-41.

ดาวรุ่ง คำวงศ์, อุกฤษฎ์ สิทธิบุศย์ และปิยะ ไทยเหนือ. การรับรู้และการใช้ข้อมูลบนฉลากอาหารของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ชลบุรี. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 2557; 9(2): 39-46.

ธิดารัตน์ สิงห์ทอง. ผลของโปรแกรมส่งเสริม ความรอบรู้ด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Thai Journal of Public Health, 2563; 5(2): 148-160.

Lai IJ, Chang LC, Lee CK, Liao LL. Nutrition Literacy Mediates the Relationships between Multi-Level Factors and College Students’ Healthy Eating Behavior: Evidence from a Cross Sectional Study. Nutrients, 2021; 13(10): 3451.

Taleb S, Itani L. Nutrition Literacy among Adolescents and Its Association with Eating Habits and BMI in Tripoli, Lebanon. Diseases, 2021; 9(2): 25. doi.org/10.3390/diseases9020025.

Downloads

Published

2022-11-01