ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดจันทบุรี
Knowledge attitudes and factors related behaviors on the prevention and control of COVID-19 among village health volunteers in Chanthaburi province
Keywords:
โควิด-19, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ความรู้, เจตคติ, พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค, อสม., COVID-19, Coronavirus disease 2019, knowledge, attitudes, preventive behaviors, village health volunteersAbstract
การวิจัยเชิงสํารวจแบบภาคตัดขวางในครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับความรู้ เจตคติ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 435 คนเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์และการทดสอบของฟิชเชอร์ ผลการศึกษาพบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.5 อายุเฉลี่ย 46.8 ปี รายได้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 42.1 ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ปี ร้อยละ 42.5 ประวัติการรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จำนวน 4 เข็ม ร้อยละ 16.8 และจากผลศึกษาระดับความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ระดับปานกลาง ร้อยละ 61.4 เจตคติในการป้องกันโรคโควิด-19 ระดับมาก ร้อยละ 53.1 และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ระดับเหมาะสมมาก ร้อยละ 96.3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ เจตคติกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 พบว่า สถานภาพสมรส (p = 0.01) จำนวนสมาชิกในครอบครัว (p = 0.01) รายได้ของครอบครัว (p = 0.01) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 (p = 0.04) และเจตคติในการป้องกันโรคโควิด-19 (p = 0.01) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมุ่งเน้นการสร้างเสริมความรู้ และเจตคติในการป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ที่ยั่งยืนและสามารถถ่ายทอดให้กับประชาชนในชุมชนได้ This cross-sectional survey aimed to study the level of knowledge, attitudes, and factors-related behaviors on the prevention and control of COVID-19 among village health volunteers (VHVs). The sample was 435 VHVs. Data were collected during July-August 2022. The research instruments were tests and questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics. The correlation was analyzed by using the Chi-Square statistic, and Fisher's exact test. The results showed that 85.5 % of VHVs were female, the average age of them was 46.8 years old, 42.0% of them had insufficient income, 42.5% has worked as VHVs less than or equal to 8 years, 16.8% had a history of receiving 4 doses of COVID-19 vaccine. According to the research on the level of knowledge, attitude, and behavior of village health volunteers in the prevention and control of COVID-19, 61.4% of moderate COVID-19 knowledge, 53.1% of high-level COVID-19 prevention attitude and COVID-19 prevention and control behavior high appropriate level 96.3% Analysis of the relationship between personal factors with COVID-19 preventive behaviors revealed that there were significantly associated factors with COVID-19 preventive behaviors as follows; marital status (p=0.01), number of family members (p=0.01), family income (p=0.01), the reason for being a village health volunteer (p=0.01). Also, COVID-19 knowledge (p = 0.04) and COVID-19 prevention attitudes (p = 0.01) were significantly related to COVID-19 prevention behaviors. Therefore, capacity development for the prevention and control of COVID-19 is necessary for VHVs. The Ministry of Public Health and related agencies should focus on promoting knowledge and attitudes of preventing COVID-19 for VHVs in order to sustain a practice of COVID-19 preventive behaviors, and they can transmit to people in their community.References
World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard 2021 [Available from: https://covid19.who.int/.
ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2565 [10 กรกฎาคม 2565]. Available from: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/310365.pdf.
กรมควบคุมโรค, กระทรวงสาธารณสุข. ขอความร่วมมือจัดทำแผนปฏิบัติการ ค้นหา เฝ้าระวังและป้องกันโรค ระดับอำเภอและหมู่บ้าน 2563 [Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpmeumonia/file/im_commands/im_commands05.pdf.
กองโรคติดต่อทั่วไป. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564. 1-12 p.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร คำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในประเทศไทย,. วารสารสถาบันบำราศนราดูร,. 2563;14(2).
ปทุมมา ลิ้มศรีงาม, ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว, อภิศุภะโชค ว. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกัน โรคในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 2564;8(9): 18-33.
อนงค์ลักษณ์ พันธุ์พรหมธาดา. การทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยใช้สามทฤษฎีทางจิตสังคมในนักศึกษาปริญญาตรี. คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร,: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, :2564.
Bloom BS, Krathwohl D.R. Taxonomy of educational objectives: the classification of educational goals.: Cognitive Domain: Longman.; 2020.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แบบรายงานระบบฐานข้อมูล อสม. 2564 [10 ธ.ค 2564]. Available from: https://www.thaiphc.net/new2020/.
Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences: Wiley; 2018.
มูลทิ จ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอ กงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. The office of disease prevention and control 6th Nakhon Ratchasima Journal. 2564;27(2):5-14.
Grimes DA, Schulz KF. Bias and causal associations in observational research. The lancet. 2002;359(9302):248-52.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. ชุดความรู้ อสม.สู้โควิด. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
Best JW, Kahn JV. Research in Education: Allyn and Bacon; 1998.
Cronbach LJ. Essentials of psychological testing 2nd ed: Harper & brothers; 1949.
จารุณี จันทร์เปล่ง, สุรภา เดียขุนทด. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 2565;7(1):11-28.
กัลยาวีร์ อนนท์จารย์, สุมนทิพย์ บุญเกิด, บัญญัติ อนนท์จารย์, สันติ ชิณพันธุ์. การส่งเสริมสมรรถนะใน การควบคุมการแพร่ระบาด โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2565;11(1):138-44.
อิสรีย์ ปัญญาวรรณ, จิตถนอม สังขนันท์, นงลักษณ์ อินตา. ทัศนคติความตั้งใจ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของพยาบาลในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขลา้นนา. 2565;18(1):1-15.
นฤเนตร ลินลา, สุพจน์ คำสะอาด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวต่อการป้องกันโรคโควิด-19 ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565;8(03):8-.
จารุณี จันทร์เปล่ง, สุรภา เดียขุนทด. การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 2565;7(1):11-28.
บรรพต อนุศรี. บทบาทและการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคโควิด-19 จังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 2564;10(2).
พงศกร บุญมาตุ่น, วุธิพงศ์ ภักดีกุล, วรินท์มาศ เกษทองมา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565;15(2):300-12.
สมหมาย หิรัญนุช, สิริกาญจน์ กระจ่างโพธิ์, ไพลิน นุกูลกิจ. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 2021;7(2):61-70.
สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.
ปางชนม์ เตี้ยแจ้. การสอบสวนโรคและการศึกษา ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ ตำบลห้วยลึก อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2564;27(3):5-15-5-.