ระบบบริการผู้สูงอายุ การสังเคราะห์การจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุของคลินิกหมอครอบครัว ในเขตสุขภาพที่ 6

The Synthesis of Management System for the Elderly Health in the Primary Care Cluster in the 6th regional Health Area

Authors

  • จันทณา วังคะออม

Keywords:

การสังเคราะห์, คลินิกหมอครอบครัว, ระบบบริการ, ผู้สูงอายุ, เขตสุขภาพที่ 6, Synthesis, Family doctor clinic, Health care service system, Aging, The 6th regional health area

Abstract

การศึกษาในครั้งนี้เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุของคลินิกหมอครอบครัวในเขตสุขภาพที่ 6 โดยศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเกี่ยวกับระบบบริการผู้สูงอายุ จากตัวแทนคลินิกหมอครอบครัวที่สุ่มแบบสัดส่วนจำนวน 134 คน และระยที่ 2 การสังเคราะห์รูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ โดยเก็บรวบรวมทั้งผู้ให้บริการและผู้สูงอายุที่รับบริการจากคลินิกหมอครอบครัวที่มีผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีภายในเขตสุขภาพที่ 6 ซึ่งสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 7 แห่ง ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน พ.ศ. 2565 โดยใช้เครื่องมือที่สร้างตามแนวคิดการพัฒนาระบบสุขภาพ และแนวคิด 3S วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์เชิงแก่นสาระ ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบและกลไกขับเคลื่อนสำคัญคือ บุคลากรในทีมและระบบสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย การประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและการสื่อสาร จัดบริการ 13 บริการหลัก และผลลัพธ์สำคัญคือ ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรม ส่วนการสังเคราะห์รูปแบบการจัดบริการสุขภาพ ประกอบกลไกการขับเคลื่อนด้วยการวางแผนงาน ดำเนินการ ประสานงานและประเมินผลบริการทั้ง 13 บริการ จนนำไปสู่ผลลัพธ์ของการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุ และมีข้อเสนอแนะประเด็นการขับเคลื่อนคลินิกหมอครอบครัวให้เป็นแนวนโยบายที่สำคัญของเขตสุขภาพ มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดับพื้นที่ควรนำแผนการจัดบริการสุขภาพของผู้สูงอายุของคลินิกหมอครอบครัวเข้าไปสู่แผนพัฒนาท้องถิ่นและเน้นการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการทำงานผ่านภาคีเครือข่ายที่มีศักยภาพในชุมชนต่อไป  This mix method study was conducted to synthesis the model of health care service management for elderly by the primary care cluster (PCC) in the 6th regional health area. This study was divided into 2 phases: phase 1, the current situation analysis by collecting the quantitative data from the randomly representatives of 134 PCCs, together with the second phase was a synthesis of the elderly health service system management model by collecting both service providers and elderly people who received their service from 7 highest health outcome PCCs during June and September 2022. Research tools were created based on the concept of health system development and the 3S concept, analyzing quantitative data. The descriptive statistics was used to describe the quantitative data. The content and thematic analysis were used for qualitative data analyzing. The results shown that the service network partners and the managerial resources such as personnel, health database, medicine and medical supplies, finance through the management process as planning, operation, cooperation, and evaluation with the 13 health care services were the crucial components of PCC health care service management for elderly in community. According to the results, there were several problems and obstacles to manage the health care service for the elderly. Therefore, policy issuing to drive PCC health care service management for elderly in the regional level would be recommended by providing of the service plan, organizing of the learning forum to make a knowledge management. For the operation level, the elderly health care plan should be apply with the local development plan. In addition, the efficient budget management for the synergize working with the potential network partners in the community should be focused.

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580). เอกสารอัดสำเนา; 2565.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการขับเคลื่อนระบบสุขภาพเพื่อรองรับ สังคมสูงอายุ ภายใต้แนวคิด “สุขเพียงพอ ชะลอชรา ชีวายืนยาว” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565. กรุงเทพ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559.

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (Health Data Center : HDC) เขตสุขภาพที่ 6. [เข้าถึงเมื่อ 2564 มิถุนายน 25]. เข้าถึงได้จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/ reports/page.php?cat_id =6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ กระทรวงสาธารณสุข. (2565) เอกสารแนบท้ายประกาศเรื่องประกาศการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูมิ ประจำปีงบประมาณ 2565. [เข้าถึงเมื่อ 2565 พฤษภาคม 15]. เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/ site/primarycarecluster2017/home.

Lliffe S. Family medicine in an aging society. Canadian Family physician 2009; May: 463-464.

World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: WHO document production services; 2010.

Krejcie & Morgan (1970), Determining sample size for research activity, Educational and Psycological Measurement,1970: 607-610.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

Teddie C., Tashakkori A. Foundations of mined methods research: integrating quantitative and qualitative approaches in the social and behavioral science. Los Angeles: Sage publishing; 2007.

Alboksmaty A., Kumar S., Parekh R., Aylin P. Management and patient safety of complex elderly patients in primary care during the COVID-19 pandemic in the UK-Qualitative assessment. PLoS ONE 2021 [cited 2022 Sep 22]; 16(3); e0248387. Available form: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8006979/

UNFPA Thailand. (2563) บทสรุปผู้บริหาร ผลกระทบโควิท-19 ต่อผูสู้งอายุ. เข้าถึงได้จาก https://thailand.unfpa.org/th/covid-op เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2565

Frank CC., Feldman S., Wyman R. Caring for older patients in primary care: Wisdom and innovation from Canadian family physicians. Canadian Family physician 2018; June:416-418.

Elliott J, Stolee P., Boscart V., Giangregorio L., Heckman G. Coordinating care for older adults in primary care settings: understanding the current context. BMC Family Practice 2018;19:137-146.

Noor S., Isa FM., Hossain MS., Shafiq A. Ageing care center: Mediating role of quality care and proactive environment. Journal of population and social studies 2020; 28(4);324-347.

Downloads

Published

2023-02-24