ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคกลุ่มอาการรัดอุโมงค์ข้อมือของพนักงานธนาคาร: กรณีศึกษา พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดชลบุรี

Factors Predicting Preventive Behaviors of Carpal Tunnel Syndrome of Bankers: A Case study of Agriculture and Agricultural Cooperatives Bankers in Chonburi Province

Authors

  • สิวิตรา คนแรง
  • เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
  • ยุวดี รอดจากภัย
  • เสาวนีย์ ทองนพคุณ
  • ดนัย บวรเกียรติกุล

Keywords:

การรับรู้โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ, ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ, ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ, Perceptions of Carpal Tunnel Syndrome (CTS), Health Belief Model, Factors predicting preventive behaviors of carpal tunnel syndrome

Abstract

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคกลุ่มอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome หรือ CTS ) ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน โรค CTS มีความเสี่ยงในการเกิดได้ง่ายเพราะข้อมือเป็นอวัยวะส่วนปลายที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจน้อย และมักใช้งานของข้อมืออยู่ตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพนักงานที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นประจำ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องนี้ โดยการประยุกต์ตามแนวทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) ในประชากร จำนวน 108 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามในด้าน 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 2) ความรู้เรื่องโรค ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 3) การรับรู้เกี่ยวกับโรค CTS ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 4) พฤติกรรมการป้องกันโรค CTS ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ตามลำดับ ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูลช่วง 5-31 พฤษภาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) แจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุด ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์สมการถดถอยแบบพหุคูณ (multiple linear regression) ผลการศึกษา พบว่าในประชากรกลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพระดับสูงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.06 และมีพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรค CTS ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.73 โดยพบว่าแรงจูงใจด้านสุขภาพ (r=0.560, p<0.001) การรับรู้ถึงประโยชน์ของการปฏิบัติ (r=0.469, p<0.001) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (r=0.449, p<0.001) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค (r=0.430, p<0.001) และการรับรู้ต่ออุปสรรค (r=0.383, p<0.001) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งการรับรู้ด้านแรงจูงใจด้านสุขภาพ มีอิทธิพลมากสุดเท่ากับ 0.376 แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทำนายปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรค CTS ได้แก่ การรับรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรค CTS ตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) ของพนักงานธนาคาร (β = 0.726, p<0.001) ได้ร้อยละ 45.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  This descriptive cross-sectional research aimed to study carpal tunnel syndrome (CTS) predictive factors of the CTS who used computers for more than five hours a day. Especially in employees who work in front of computer everyday which is high risk to be CTS because most people pay a little attention even though the wrist is often used all time including the ending organ. This research applying Health Belief Model theory which is benefit for the organizations to motivate employees preventing of the CTS and reducing health problems from work as well as being a guideline for relevant organizations set a policy to prevent of the CTS and work better performance in order that employees have a better quality of life to work. Online questionnaires modified in accordance with the theory of Health Belief Model were given to 1 0 8 subjects who were selected by purposive selection. Research instruments included questionnaires concerning 1) personal data 2) CTS knowledge 3) perceptions of carpal tunnel syndrome (CTS) and 4) behaviors of carpal tunnel syndrome (CTS). The reliability of these questionnaires were 0.93, 0.75, 0.93 and 0.92 respectively. Data were collected from May 5-31,2022 were analyzed using mean, percentage, standard deviation (SD), minimum and maximum values, pearson’s correlation coefficient and multiple linear regression Results of study showed that participants had the high level of health belief perceptions on CTS (average = 3.06) and moderate level of behaviors in preventing on CTS (average = 2.73). Health motivation (r =0.560, p<0.001), perceived benefit of practice (r =0.469, p<0.001), perceived severity of disease (r =0.449, p<0.001), perceived risk of disease (r =0.430, p<0.001), and perceived barriers (r =0.383, p<0.001) were all significantly associated with disease prevention behaviors. This study demonstrated that perceptions were correlated with CTS. Furthermore, the most influence was health motivation effect size 0.376 and factors predicting preventive behaviors of carpal tunnel syndrome of Agriculture and Agricultural Cooperatives Bankers could predict (β = 0.726, p<0.001) about 45.4 % at the statistically significant level of 0.01

References

Wipperman J, Goerl K.Carpal Tunnel Syndrome: Diagnosis and Management. American Family Physician. 2016; 94(12): 993-9.

Pangsuwan S. A study of the prevalence and risk factors of carpal tunnel syndrome in employees at the royal irrigation hospital. Srinakharinwirot University (Journal Of Science And Technology). 2017; 9(17): 163-73.

Farmer Je, David Trc. Carpal Tunnel Syndrome: A Case–Control Study Evaluating Its Relationship with Body Mass Index and Hand and Wrist Measurements. 2008; 33(4): 445-8.

Phalen GS. The Carpal-Tunnel Syndrome: Seventeen years experience in diagnosis and treatment of six hundred fifty-four hands. JBJS. 1966; 48(2).

Stevens JC, Sun S, Beard CM, O'Fallon WM, Kurland LT. Carpal tunnel syndrome in Rochester, Minnesota, 1961 to 1980. Neurology. 1988; 38(1): 134-8.

Zaki M, Ali M, Yousef W, Ezzat W, Basha W. Age and Body Anthropometry as Predicting Factors for Carpal Tunnel Syndrome among Egyptian Obese Women. Open Access Macedonian Journal of Medical Sciences. 2020; 8(3): 930-4.

Werner RA, Albers JW, Franzblau A, Armstrong TJ. The relationship between body mass index and the diagnosis of carpal tunnel syndrome. Muscle & Nerve. 1994; 17(6): 632-6.

Tanaka S, Wild DK, Seligman PJ, Halperin WE, Behrens VJ, Putz-Anderson V. Prevalence and work-relatedness of self-reported carpal tunnel syndrome among U.S. workers: Analysis of the Occupational Health Supplement data of 1988 National Health Interview Survey. American Journal Of Industrial Medicine. 1995; 27(4): 451-70.

Guan, W., Lao, J., Gu, Y., Zhao, X., Rui J, Gao K.Case-control study on individual risk factors of carpal tunnel syndrome. Experimental And Therapeutic Medicine. 2018; 15(3): 2761-6.

Danaisawat T, Jiamjarasrangsi W. Prevalence Survey of Carpal Tunnel Syndrome and Its Related Factors by Using CTS6 Evaluation Tools among Motorcycle Taxi Drivers in Bangkok Area. Royal Thai Army Medical Journal. 2019; 72(4): 217-25.

Hagberg M, Morgenstern H, Kelsh M.Impact of occupations and job tasks on the prevalence of carpal tunnel syndrome. Scandinavian Journal Of Work Environment & Health. 1992; 18(6): 337-45.

Genova A, Dix O, Saefan A, Thakur M & Hassan A. Carpal Tunnel Syndrome: A Review of Literature. Cureus 2020; 12(3), e7333.

Stetson, et al. Median sensory distal amplitude and latency: Comparisons between nonexposed managerial/professional employees and industrial workers. American Journal Of Industrial Medicine, 1993; 24(2): 175-189.

Thongmeekhaun T. Predicting factors of preventive behaviors for computer syndrome among computer users in working: one of southern provincial administrative organization. Sripatum Chonburi Journal. 2562; 15(4): 78-87.

Maiman LA, Becker MH. The Health Belief Model: Origins and Correlates in Psychological Theory.1974; 2(4): 336-53.

Martin H. Patients' health beliefs and adaptation to carpal tunnel syndrome based on duration of symptomatic presentation. Journal Of Hand Therapy: Journal Of The American Society Of Hand Therapists Official. 2007; 20(1): 29-35.

Aksornpan P, Plykaew R. The Factors Related to Preventive Behaviors of Musculoskeletal Disorders Among Computer Workers. Nursing Journal. 2021; 48(4): 107-20.

Phuengphol N, Rattanapahira W, Suksomsong S, Thubthimthong C. Factors predicting preventive behavioral intention in patients with low back pain at Thai Traditional Medicine Clinic, Sirindhorn College of Public Health, Chonburi. Humanities And Social Science Research Promotion Network Journal. 2021; 4(2): 33-43.

Tongnuang P, Jaisomkom A. Factors predicting intention to practice for preventing hypertension in adults. Thai Journal Of Cardio-Thoracic Nursing. 2019; 30(2): 49-65.

Greenberg J., R.A. B. Behavior in organizations: Understanding and managing the human side work. 5th ed. New Jersey: Prentice-Hall: Englewood Cliffs; 1995.

Sharafkhani N, Khorsandi M, Shamsi M, Ranjbaran M. Low Back Pain Preventive Behaviors Among Nurses Based on the Health Belief Model Constructs. SAGE Open. 2014; 4:2158244014556726.

ณัฐยา สุนัติ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 2564; 16(2): 54-67.

นิภาพร กรรณสูตร. การลดอาการโรคอุโมงค์ข้อมือด้วยมีดกรีดยางทางการยศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

อัจฉรา ไชยกุล. ผลของการจัดโปรแกรมบริการพยาบาลที่เสริมสร้างความรู้และความสามารถในการบริหารข้อมือด้วยตนเองต่อความรุนแรงของอาการและความสามารถในการใช้มือของผู้ป่วยกลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือที่บำบัดแบบผู้ป่วยนอก วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 2558; 8(2): 24-35.

วไลพร พราหมณ์ชู. ภัยเงียบของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือในผู้ประกอบอาชีพกรีดยาง. การประชุมหาดใหญ่ วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2563. 1987-1996.

เนสินี ไชยเอีย, อรวรรณ บุราณรักษ์, สมเดช พินิจสุนทร, มนิสรรณ บุญมา, ศิริพร ลีลาธนาพิพัฒน์, ชายตา สุจินพรหม, ปิยะ ดุรงคเดช, สหชาติลีลามโนธรรม และกิตติพัทธ์ มูลทวี. ผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยในเมืองจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2548; 20(1): 3-10.

อาภาพร เผ่าวัฒนา. การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

ธมลวรรณ ดนัยสวัสดิ์. การสำรวจความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของกลุ่มโรคการกดทับเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือโดยใช้แบบประเมิน CTS-6 ในกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตกรุงเทพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2561.

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, สกุนตลา แซ่เตียว. พฤติกรรมการป้องกันและการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของบุคลากรสายสนับสนุน. วารสารพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสยาม, 2561; 37(19): 69-83.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. หลักการทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์; 2556.

Downloads

Published

2023-02-24