สถานการณ์การตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักที่โฆษณาปลอดสารพิษในเขตกรุงเทพมหานคร

Situation of Organophosphate and Carbamate Residues in Vegetable Advertised as Pesticide Free in Bangkok

Authors

  • ภคิน ปัญญาฤทธิสร
  • ธีรุตม์ ธนมิตรามณี
  • ปุณยนุช สุนทรีวงศ์
  • ชิษณุชา กริ่มใจ
  • วสุพล จุฑานพมณี
  • พัสกร เพ็ชรผ่อง
  • ภาคภูมิ เดชไพศาล

Keywords:

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, ออร์กาโนฟอสเฟส, คาร์บาเมต, ผักปลอดสารพิษ, pesticide, organophosphate, carbamate, organic vegetable

Abstract

การปลูกผักเชิงพาณิชย์มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการปลูกผักเพิ่มมากขึ้น การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่สมเหตุสมผล ส่งผลต่อการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผัก หากร่างกายได้รับสารพิษเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ผู้บริโภคส่วนหนึ่งจึงปรับมาบริโภคผักปลอดสารพิษ การศึกษาครั้งนี้ศึกษาสถานการณ์การตกค้างของสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมตในผักที่โฆษณาปลอดสารพิษ จำนวน 112 ตัวอย่าง โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) ที่จำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในผัก 7 ชนิดประกอบไปด้วย บรอกโคลี่ แตงกวา กระเทียม ผักบุ้ง กะหล่ำปลี คะน้า และผักกาดขาว โดยหาตรวจสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเมตที่ตกค้างด้วยชุดทดสอบหายาฆ่าแมลงเอ็มเจพีเค (MJPK) ของกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยในเดือนกันยายน – ตุลาคม พ.ศ. 2565 ผลของการศึกษาตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 15 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.39 โดยตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างระดับไม่ปลอดภัยในผักบุ้ง 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.33 ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง และตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างระดับไม่ปลอดภัยมาก จำนวน 13 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 86.66 ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างระดับไม่ปลอดภัยมาก จำนวน 13 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 86.66 ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างระดับไม่ปลอดภัยมาก จำนวน 13 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 86.66 ของจำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ตัวอย่างที่ตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างระดับไม่ปลอดภัยมาก ได้แก่ กระเทียม 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50.00 ของตัวอย่างกระเทียมทั้งหมด แตงกว่า 2 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 11.76 ของตัวอย่างแตงกวาทั้งหมด คะน้า 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 6.25 ของตัวอย่างคะน้าทั้งหมด ผักกาดขาว 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 6.25 ของตัวอย่าง ผักกาดขาวทั้งหมด กระหล่ำปลี 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5.88 ของตัวอย่างกระหล่ำปลี ตรวจไม่พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในตัวอย่างบรอกโคลี่ สรุปผลการวิจัย มีการตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักที่โฆษณาปลอดสารพิษร้อยละ 13.39 ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผักปลอดสารพิษที่มีตรารับรองสินค้า เพื่อให้ได้ผักที่ผลิตภายใต้กระบวนการผลิตที่มาตรฐานและปลอดสารพิษจริง ๆ และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้รู้จักตรารับรองคุณภาพสินค้าเกษตรมากขึ้น  Commercial vegetable cultivation has increased the use of pesticides in vegetables. Irrational use of pesticides affecting the residue of pesticides in vegetables, if the body is exposed to these toxins, it can cause health problems. Consumers turn to consume vegetables advertised as pesticide free to avoid taking risk of pesticide residue in normal vegetable. This study investigated the situation of organophosphates and carbamate residues in vegetables advertised as pesticide free, totaling 112 samples sold in Bangkok. This study examined cholinesterase inhibitory insecticides using the principle Colorimetric Cholinesterase Inhibitor Assay with MJPK pesticide test kit of Department of Medical Science. 7 types of popular vegetable had been examined; broccoli, cucumber, garlic, water spinach, cabbage, Kale, white cabbage and water spinach. Descriptive statistics such as frequency and percentage were used to analyze the data. Convenient sampling method was used to select samples from Bangkok area. This study was conducted during September-October 2022. The result showed that from a total of 112 samples, organophosphate and carbamate were found in 15 samples (13.39%); 2samples of water spinach (13.33%) were found to contain Organophosphate and Carbamate at an unsafe level. For a very unsafe level of Organophosphate and Carbamate contamination were detected in 13 samples (86.66%) which consisted of 8 samples of garlic (50% of total garlic samples tested), 2 sample of cucumber (11.76% of total cucumber sample tested), 1 Kale sample (6.25% of total kale sample tested), 1 sample of white cabbage (6.25% of white cabbage sample tested) and 1 sample of cabbage (5.88% of cabbage sample tested). In conclusion, 13.39% of total samples of vegetable which advertised as organic tested were found pesticide residues in them. Consumers should buy organic vegetable with a certified branded, in order to get vegetables that are produced under standard production processes and are really non-toxic.

References

เมดไทย. ประโยชน์ของผักและผลไม้ 14 ข้อ. เมดไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://medthai.com/ผักผลไม้/

โรงพยาบาลเปาโล. FIBER ลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ ดีต่อลำไส้. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: Fiber-ลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ-ดีต่อลำไส้#:~:text=ใยอาหาร%20(Dietary%20Fiber) %20คือ,ของลำไส้ใหญ่%20เป็นต้น%20เราสามารถ

Imrom. รสชาติของผักที่ควรรู้. Unif.com [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: shorturl.at/gtFU9

Policy Brife. โรคเรื้อรังป้องกันได้. Policy Brife [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: shorturl.at/oEGR2

ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ. ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 3 ปี 2565. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/ fileups/bappdata/files/Outlook_Q3_2565.pdf

เวอร์ชวล สคูล ออนไลน์. ศัตรูพืช. 168 เอ็ดดูเคชั่น [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: http://www.digitalschool.club/digitalschool/science1_2_2/science17_3/more/Pest_1.php

วรางรัตน์ เสนาสิงห์. แมลงศัตรูพืช. คลังความรู้ IPST Learning Space [อินเทอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.scimath.org/article-biology/item/8666-2018-09-11-08-04-46

ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา. ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการผลิตอาหาร. ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: http://www.climate.tmd.go.th/content/article/13

Thaipan เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. ปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของไทยอยู่อันดับไหนของโลก. Thaipan เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://thaipan.org/highlights/2426

วินัย วนากุล, สุดา วรรณประสาท, จารุวรรณ ศรีอาภา. ภาวะเป็นพิษจาก Organophosphates และ Carbamates. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก : https:// www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/sites/default/ files/public/pdf/books/Pesticide_book-01_Organophosphor us-and- Carbamates.pdf

อริศรา รุ่งแสง. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เดือนกุมภาพันธ์ ปี2555 [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก:https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/99356/1/Arisara_R. pdf

นิภาภรณ์ เรณูหอม. การตัดสินใจซื้อผักปลอดสารพิษของผู้บริโภค ตำบลทะเลชุปศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/ml10/6114962025.pdf

กรรณิการ์ คงวาริน, จินตนีย์ รู้ซื่อ. พฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคใน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565];7(1):51-77. เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msj/article/download/127919/164976

สุทธดา ขัตติยะ, ธัญพร ฟุ้งเฟื่อง, วัชระ วัธนารวี. พฤติกรรมความต้องการผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. การประชุมวิชาการดา้นมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 2 นวัตกรรมสร้างสรค์สังคม; 5-6 สิงหาคม 2562; อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา. [กรุงเทพฯ]: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (ประเทศไทย) 2562: 1121-1132.

ชวัลรัตน์ สมนึก, นฤมลอิ่มศรี, สุจิตรา ปินะถา, หิรัญ หิรัญรัตนพงศ์. การตรวจหาสารตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผัก จากตลาดสดและห้างสรรพสินค้าในเขตอำเภอเมืองจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี 2565;15(1):12-17.

วิจิตรา เหลียวตระกูล, วชิรญา เหลียวตระกูล, ปรียานุช เพียนเลี้ยงชีพ, รวีวรรณ เดื่อมขันมณี. การตรวจสอบสารเคมีตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักสด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและประสิทธิภาพในการล้างผักต่อสารเคมีตกค้างในผักคะน้า. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 2563;38(1):131-138.

Thaipan เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. ไทยแพนเปิดผลตรวจผักผลไม้พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน 41% ผักห้างแย่กว่าผักตลาดสด ตะลึงพบสารพิษห้ามใช้ในประเทศไทยตกค้างอื้อ 12 ชนิด. Thaipan เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://thaipan.org/action/1107

ธนพงศ์ ภูผาลี, อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล, มาลี สุปันตี. ความชุกของการมีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักจากตลาดและห้างสรรพสินค้าในอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม, วารสารเภสัชกรรมไทย. 2559;8(2): 400-409.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. ผักและผลไม้ปลอดสารพิษมีราคาแพงเพราะค่าใช้จ่ายในการจัดการราคาหน้าสวนถูกกว่าสองเท่า. สิทธิพลเมืองไทยและวารสารศาสตร์สืบสวนสอบสวน (TCIJ) [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.tcijthai.com/news/2015/23/scoop/3754

พัชรี ภคกษมา, สุวรรณี สายสิน, ศรมน สุทิน. การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในผักในพื้นที่จงัหวดัสมุทรปราการ. วารสารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 2559; 5(1): 22-30.

กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหาร ณ สถานที่จำหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ.2560. กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. [อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: http://foodsanitation. bangkok.go.th/assets/uploads/year_report_food/document/20210121_96803.pdf

มานิต ธีระตันติกานนท์, จิราภรณ์ อ่ำพันธุ์, พรรณทิพย์ ตียพันธ์, กนกพร อธิสุข. การพัฒนาศักยภาพการตรวจยาฆ่าแมลงด้วยชุดทดสอบ เอ็ม เจ พี เค. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 (พิษณุโลก) สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] 2552; 4(1). เข้าถึงได้จาก:http://nih.dmsc.moph.go.th/research/showimgdetil.php?id=404

Asianmedic. ชุดทดสอบ MJPK ตรวจหายาฆ่าแมลงในผักผลไม้. Asianmedic Co., Ltd. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://asianmedic.com/wp-content/uploads/2019/ 06/ชุดทดสอบยาฆ่าแมลงตกค้างในผัก-ผลไม้-MJPK.pdf

ศุจิมน มังคลรังษี, สุวพิชญ์ เตชะสาน, วีรยา สินธุกานนท์, จิดาภา รัตนถาวร, ธัญณ์สิริ วิทยาคม, ภูษณิศากิจกาญจนกุล, ณกัณฐพันธ์ ประมาพันธ์, เดชาธร สมใจ. ความชุกของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออการ์โนฟอสเฟตและคาร์บาเมตตกค้างในผักที่จำหน่ายในตลาดสด และในห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสาร วิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565; 8(4):129-140.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ผลผลิตกระเทียมแยกตามจังหวัด ปี 2564. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: http://mis-app.oae.go.th/product/กระเทียม

อดุลย์ ชัยชนะ. ความรู้และการปฏิบัติการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูกระเทียมของสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกกระเทียมฝาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [อินเทอร์เน็ต]. 2544 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/ 6653943832/19191/2/agext0944ac_abs.pdf

สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในผักสดและผลไม้สด. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/index.php/2017/06/16/pesticide/

กรีนเนท. ตรารับรองสินค้าเกษตรในประเทศไทย. กรีนเนท. [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึง 1 พฤศจิกายน 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.greennet.or.th/ตรารับรองสินค้าเกษตรใน/

Downloads

Published

2023-06-13