การใช้บริการสาธารณสุขของแรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติ : กรณีศึกษา จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

Public Health Service Utilization Among Migrant Workers: A Case Study in Chiang Mai and Lamphun Province

Authors

  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์
  • ธานี แก้วธรรมานุกูล

Keywords:

การใช้บริการสาธารณสุข, การจัดบริการสาธารณสุข, แรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติ , Public health service utilization, Public health service provision, Migrant workers

Abstract

การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การใช้บริการสาธารณสุข ของแรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน กลุ่มที่ศึกษา คือ แรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติทั้งที่ขึ้นและไม่ขึ้นทะเบียนที่ทำงานในเขตจังหวัดดังกล่าว จำนวน 72 ราย และทีมสุขภาพโรงพยาบาลชุมชน และจังหวัดจำนวน 11 ราย รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการศึกษาพบว่า การใช้บริการสาธารณสุขของแรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติ ขึ้นกับสถานะของการขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียน กรณีเจ็บป่วยรุนแรง แรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติทั้งที่ขึ้นและไม่ขึ้นทะเบียนจะตัดสินใจเลือกใช้บริการสาธารณสุขจากภาครัฐและเอกชน การจัดบริการสาธารณสุขสำหรับแรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติโรงพยาบาล ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้แรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติต้องจ่ายค่าประกันสุขภาพ 1,900 บาท โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี ทั้งสามารถใช้บริการสาธารณสุขได้ทุกโรงพยาบาลในเครือข่ายของจังหวัดเดียวกัน ความพร้อมการจัดบริการสาธารณสุขจะเกี่ยวกับข้อจำกัดทรัพยากร ทั้งอัตรากำลังของบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ ส่วนปัญหาการใช้บริการสาธารณสุขของแรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติ จะเกี่ยวกับ “เวลา” “การสื่อสาร” และ “การเลือกปฏิบัติ” ของผู้ให้บริการข้อเสนอแนะจากการศึกษาที่สำคัญ คือ พัฒนากลไกเสริมแรงจูงใจการเข้าสู่ระบบการขึ้นทะเบียน พัฒนาระบบประกันสุขภาพของแรงงานย้ายถิ่น ข้ามชาติเสมือนระบบประกันสังคม พัฒนาระบบอาสาสมัครแรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติ และเครือข่ายการดูแลสุขภาพแรงงานย้ายถิ่นข้ามชาติทั้งภาคประชาชนและภาครัฐ  The purposes of the study focused on the situation analysis of public health service utilization among migrant workers in Chiang Mai and Lamphun province. The study group included 72 of both registered and non-registered migrant workers in such province; and 11 health professional working at either community or provincial hospital. Data collection was undertaken through focus group discussions and in-depth interviews. The main results revealed that public health service utilization among migrant workers depended on the status of registration and non-registration. In case of severely ill, both registered and non-registered migrant workers made decision to adopt both governmental and private health services. Concerning health service management for migrant workers, all study hospitals had organized health services basing on Public Health Ministry Policy. Meanwhile, migrant workers had to pay for health insurance fee in the amount of 1,900 baht for 1-year health insurance. Upon the registration, migrant workers could utilize public health service from all hospitals which in the same provincial network. The readiness of health service provision was related to resource limitation, either personnel or medical equipment, while the problem of health service utilization included 'time', 'communication' and 'service discrimination' among health care providers. These findings suggest the development of motivational mechanism for registration among migrant workers; development of health insurance system for migrant workers as a social security system; development of migrant workers' volunteer and collaborative network in caring for migrant workers both popular and public sector. 

Downloads

Published

2023-12-19