ปัจจัยทำนายความเครียดของการเป็นมารดาของมารดาที่มีบุตร อายุ 0-3 ปี

Predicting maternal stress of mothers having children aged 0-3 years

Authors

  • จินตนา วัชรสินธุ์
  • สุนทราวดี เธียรพิเชฐ
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

การสนับสนุนของสามี ครอบครัวและเพื่อน, ความพึงพอใจในชีวิตของมารดา, ความรู้สึกเป็นภาระของมารดา, ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของมารดา, ความเครียดของการเป็นมารดา , Family member and friend support, Maternal satisfaction and the fulfillment of life, Maternal burden, Maternal self-esteem

Abstract

การวิจัยเชิงความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการทำนายความเครียดของการเป็นมารดา ด้วยปัจจัยอายุของมารดา จำนวนชั่วโมงการดูแลบุตร การสนับสนุนของสามี สมาชิกครอบครัวและเพื่อน ความพึงพอใจในชีวิตของมารดา ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของมารดา และความรู้สึกเป็นภาระของมารดา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยมารดาที่มีบุตรอายุ 0-3 ปี จำนวน 249 คน ที่พาบุตรมารับบริการส่งเสริมสุขภาพที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ณ โรงพยาบาลในเขตภาคตะวันออก ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า มารดาส่วนใหญ่มีระดับความเครียดของการเป็นมารดาในระดับค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.74, SD = 0.46) ความเครียดของการเป็นมารดามีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกเป็นภาระของมารดา (r = 49, p < .01) แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับการสนับสนุนของสมาชิกครอบครัว ความพึงพอใจในชีวิตของมารดา และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของมารดา (r = -22, 1.21, -.36, p < .01, .01, และ .01 ตามลำดับ) และปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันทำนายความเครียดของ การเป็นมารดา ได้ร้อยละ 30.3 ดังนั้นเพื่อการลดความเครียดของการเป็นมารดาที่มีบุตรอายุ 0-3 ปี บุคลากรทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลมารดาและเด็กวัยนี้ จึงควรให้ความสำคัญกับการประเมินและให้การส่งเสริมการสนับสนุนของสมาชิกครอบครัว ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของมารดาและการลดความรู้สึกเป็นภาระของมารดาเหล่านี้   The purpose of this study was to explore the predicted relationships among mother's age, hours of care, neighborhood relationship, husband support, family member support, friend support, maternal satisfaction and the fulfillment of life, maternal burden and anxiety, maternal self-esteem, and maternal stress. The study sample consisted of 249 mothers having children aged 0- 3 years and receiving well-baby services at the hospital in eastern region, Thailand. The measurements used in this study were questionnaires. Descriptive statistics including percentage, mean, standard deviation, and multiple regression analysis were performed for data analysis. The result showed that there was high level of maternal stress (average =3.74, SD = 0.46), Maternal stress had a positive correlation with maternal burden and anxiety (r = .49), but had a negative correlation with family support (r = -.22, p<.01), maternal satisfaction and the fulfillment of life (r = -21, p<.01), and maternal self-esteem (r = -.36, p<.01). The multiple regression analysis revealed that family member support, maternal satisfaction and the fulfillment of life, maternal self-esteem, and maternal burden and anxiety variables combined was accounted for 30.3% of the variance in maternal stress. The findings suggest that intervention programs that increase family member support and self-esteem and decrease maternal burden may reduce maternal stress. 

Downloads

Published

2023-12-19