การประเมินผลโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด : กรณีศึกษาในจังหวัดชลบุรี

The Evaluation of TO BE NUMBER ONE Project : A Case Study of Chon Buri Province

Authors

  • สุนิภา ชินวุฒิ
  • อารีย์ สุขก้องวารี
  • เพ็ญพรรณ ขจรศิลป์
  • ทุติยรัตน์ รื่นเริง
  • จิตสมร วุฒิพงษ์

Keywords:

การประเมินโครงการ , โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด , การส่งเสริมสุขภาพ, project evaluation, drug abuse prevention and control, health promotion

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยประเมินผลโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสำเร็จของโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 10 - 24 ปี เป็นสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE ที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกในสถานประกอบการ สถานศึกษา และชุมชน จำนวน 11 แห่ง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสร้างตามแนวการประเมิน 7 ขั้นตอน ของ CIPP Model โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตแบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามสมาชิก ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ และร้อยละ  ผลการวิจัย พบว่า  1. ด้านบริบท สถานประกอบการ สถานศึกษา และชุมชน มีสถานที่ดำเนินโครงการ TO BE NUMBER ONE ชัดเจน มีพื้นที่ในการประชาสัมพันธ์โครงการและทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิก  2. ด้านปัจจัยป้อน ทั้งสถานประกอบการ สถานศึกษา และชุมชน ดำเนินงานตาม 3 ยุทธศาสตร์หลักและองค์ประกอบ 3 ก. คือ กรรมการ กิจกรรมและกองทุน ยกเว้นชุมชนไม่มีงบประมาณสำหรับโครงการนี้ โดยรวมสมาชิกจำนวน 334 คน คิดเป็นร้อยละ 89.90 เห็นด้วยกับปัจจัยป้อนของโครงการ  3. ด้านกระบวนการ สมาชิกส่วนใหญ่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการได้มีโอกาสแสดงความสามารถพิเศษของตนเอง รวมถึงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในชมรม สมาชิกจำนวน 339 คน คิดเป็นร้อยละ 91.45 เห็นด้วยกับกระบวนการของโครงการ 4. ด้านประสิทธิผล สมาชิกได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความคิดสร้างสรรค์และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สมาชิกจำนวน 352 คน คิดเป็นร้อยละ 94.91 เห็นด้วยกับประสิทธิผลของโครงการ 5. ด้านผลกระทบ สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น รู้จักคุณค่าของตนเอง มีการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลยาเสพติด สมาชิกจำนวน 351 คน คิดเป็นร้อยละ 94.72 เห็นด้วยกับผลกระทบของโครงการ  6. ด้านความยั่งยืน สมาชิกเห็นด้วยกับการดำเนินกิจกรรมของโครงการมีความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืนของโครงการจากการสืบทอดการดำเนินกิจกรรมของชมรมจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นที่ปรึกษาและให้การสนับสนุน สมาชิกจำนวน 357 คน คิดเป็นร้อยละ 96.16 เห็นด้วยกับความยั่งยืนของโครงการ 7. ด้านการขยายผล พบว่า สมาชิกมีความต้องการขยายผลสู่ชุมชนอื่นโดยแหล่งใดที่มีความเข้มแข็งจะให้การสนับสนุนกับชุมชนใกล้เคียง  The purpose of this research was to evaluate the successfulness of the TO BE NUMBER ONE project in Chon Buri Province using CIPP Model. The subjects were 1) members of the TO BE NUMBER ONE project, aged 10-24 years old who continuously participated in this project 2) persons who have a relationship with the members of the TO BE NUMBER ONE project in the manufacturing plants, schools and communities. There were 11 groups continuously participated in this project. The research instrument was developed by the researcher based on the 7 - steps of CIPP model. The instrument consisted of focus- group interview, in-depth interview and a questionnaire with the Cronbach's alpha reliability of 0.85. The data were analyzed using content analysis and descriptive statistics.  Results of this study revealed that  1. Context: All stakeholders Including manufacturing plants, schools and communities provided a place or a facility for organizing the project.  2. Input: Must stakeholders operated the project in consistent with the 3 major strategies of TO BE NUMBER ONE project which included committee, funding, and activities (n=334, 89.9%). However, the communities did not have budget for the project.  3. Process: Most members participated in the project voluntarily. They perceived the important of the project and the benefit of participation in its activities such as a chance to express their talents and to share ideas with other members (n=339, 91.45%).  4. Effectiveness: The majority of the members got benefit from cooperating in this project (n=352, 94.91%). They learned to work, solve the problems, think creatively and spend time doing activities together.  5. Impact: Most members who participated in this project had an improved life style, higher self-value and safety awareness (n=351. 94.90%), 6. Sustainability: Most members agreed that the project had an on-going activity (n=334, 89.90%). The sustainability of the project was the results of "senior to junior" strategy and support from project supervisors.  7. Transportability: The project members indicated that they wanted to transport the project activities to other communities by using the stronger groups to facilitate other groups or communities.

Downloads

Published

2023-12-19