ปัจจัยเสี่ยงจากการประกอบอาชีพของโรคมะเร็งปอด

Occupational Risk Factors for Lung Cancer

Authors

  • กาญจนา ตาวประเสริฐ
  • ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์
  • ชยนตร์ธร ปทุมานนท์

Keywords:

อาชีวอนามัย , ปัจจัยเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ , โรคมะเร็งปอด, occupational health, occupational risk factor, lung cancer

Abstract

การประกอบอาชีพเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด การศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงจากการประกอบอาชีพของโรคมะเร็งปอดในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดจำนาน 220 คน และกลุ่มควบคุม คือ ประชาชนที่ไม่เป็นมะเร็งปอดจำนวน 440 คน ทั้งสองกลุ่มมีคุณสมบัติคล้ายคลึงใน ด้านเพศ อายุ (อายุต่างกันไม่เกิน 2 ปี) และอาศัยในหมู่บ้านเดียวกันของจังหวัดลำปาง รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยโลจิสติกแบบไม่มีเงื่อนไข ผลการวิจัย พบว่า เมื่อควบคุมปัจจัยการสูบบุหรี่แล้วคนทํางานในอุตสาหกรรมการบริการ และมีอาชีพเป็นพนักงานทำความสะอาด มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด 2.5 เท่า และ 3.1 เท่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ตามลำดับ ส่วนการสัมผัสสิ่งคุกคามต่อสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ควันจากการเผาไหม้ทางการเกษตร 1.7 เท่า (p < 0.05) สีทาไม้ สารตัวทำละลาย 1.8 เท่า (p < 0.05) ฝุ่นละอองจากการเพาะปลูก 1.8 เท่า (p < 0.05) และควันบุหรี่ ในสถานที่ทำงาน 2.2 เท่า (p < 0.001) ขณะที่การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขณะทำงานช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การประกอบ อาชีพเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของโรคมะเร็งปอดดังนั้น ควรเน้นการควบคุมปัจจัยเสี่ยงในงานที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและสนับสนุนให้มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในขณะที่ปฏิบัติงาน  Certain occupations are proven to be risk factors for lung cancer as a result of exposure to carcinogen in working environment. This population based case-control study was designed to analyze occupational risk factors for lung cancer in Lampang Province. The study sample consisted of 220 lung cancer cases and 410 non cancer cases. These two groups were similar in terms of gender, age (±2 years) and residential area within the same village of Lampang Province. Data collection was undertaken using an interview form. Data analysis was performed using unconditional logistic regression. The main results after adjusted for smoking illustrated the statistically significant lung cancer risks were observed among employees in the service industry (OR = 2.5, p < 0.05) and cleaner occupation (OR = 3.1, p < 0.05). Hazard exposures in working environments found to be significant risks for lung cancer were the following materials: burning plant material (OR = 1.7, p < 0.05); paint/solvent (OR = 1.8, p < 0.05); agricultural cultivation dust (OR - 1.8, p < 0.05) and tobacco smoke in the workplace (OR = 2.2, p < 0.001). Using personal protective equipment was found to reduce risk for lung cancer significantly (p < 0.001). The results of the study indicated that occupation was a risk factor for lung cancer. Controlling of occupational health hazard associated with lung cancer should be emphasized and the use of personal protective equipment during work should be encouraged.

Downloads

Published

2023-12-19