การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อสอนเพศศึกษาให้กับวัยรุ่นในชุมชน
Potential for Development of the Village Health Volunteers in Teaching Sex Education to Adolescences in the Community
Keywords:
อสม. , ทักษะการสอน , เพศศึกษา, วัยรุ่น, การส่งเสริมสุขภาพ, Village Health Volunteers, Teaching skills, Sex education, Adolescents, Health promotionAbstract
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อสอนเพศศึกษาให้กับวัยรุ่นในชุมชน และเปรียบเทียบศักยภาพการสอน เพศศึกษาของ อสม. ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. ในอำเภอหนึ่งของจังหวัดใน ภาคใต้ จำนวน 100 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามศักยภาพการสอนเพศศึกษาของ อสม. ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.96 และแนวคำถามเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบทีแบบตัวอย่างคู่อันดับ (Paired-sample t-test) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการพัฒนาศักยภาพ อสม. คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ค่าเฉลี่ยคะแนนศักยภาพการสอนเพศศึกษาให้กับวัยรุ่นในชุมชนของ อสม. ระหว่างก่อนและหลังการพัฒนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.05, p < 0.001) ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าภายหลังการพัฒนา อสม. มี ศักยภาพในการสอนเพศศึกษาให้กับวัยรุ่นในชุมชนครบทั้ง 6 ด้าน ผลการวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทีมสุขภาพและผู้เกี่ยวข้อง ในการนำรูปแบบการอบรมที่พัฒนาทุกการศึกษานี้ไปใช้ เพื่อพัฒนาศักยภาพการสอนเพศศึกษาของ อสม. ให้เหมาะสมกับบริบททางสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้วัยรุ่นในชุมชนมีชีวิตที่ปลอดภัยและมีสุขภาพทางเพศที่ดีต่อไป This experimental study aimed to establish a model for development of the Village Health Volunteers in teaching sex education to adolescents in the community and to compare their knowledge before, during and after attending a program for developing potential of teaching skill. Subjects of the study were 100 Village Health Volunteers in one district of one province in Southern Thailand. Data were collected by means of both the questionnaire about information for teaching sex education and in depth interviews. The Cronbach's alpha coefficient of the questionnaire was at 0.96. Descriptive statistics and paired-sample t-test were then calculated. The qualitative data from the interviews were analyzed using analytic induction. Results revealed that the model for development of the Village Health Volunteers in teaching sex education to the adolescents in the community was a learner-centered workshop. The average of knowledge scores for teaching sex education before, during and after participating in the program were statistically different (t = 9.05, p < 0.001). Qualitative results revealed that after the skill development program, the Village Health Volunteers improved in six aspects of teaching sex education to the adolescences in the community. The findings of this study will be useful for the health care teams and other responsible personnel. The model proposed in this study can be used and adapted to fit different religious and cultural contexts of each community to further promote a safe life and better sexual health of adolescents in the community.Downloads
Published
2023-12-20
Issue
Section
Articles