พิษของสารโมโนบิวทิลทิน ไดบิวทิลทินและไตรบิวทิลทิน ต่อการเกิด Imposex ของหอยหวานในบริเวณอ่าวอุดม จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย

Imposex occurrence of Babylonia areolata in response to monobutyltin, dibutyltin and tributyltin in Ao Udom coastal area, Chon Buri province, Thailand

Authors

  • ธีรนาถ สุวรรณเรือง
  • วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย
  • นิตยา ไชยเนตร
  • สุบัณฑิต นิ่มรัตน์

Keywords:

สารประกอบบิวทิลทิน , การเปลี่ยนเพศในสัตว์น้ำ , หอยหวาน , พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม, Butyltin compound, Imposex, Babylonia areolata, Environmental toxicology

Abstract

การศึกษาผลของสารโมโนบิวทิลทิน ไดบิวทิลทินและไตรบิวทิลทิน ต่อการเกิด Imposex ในหอยหวานจำนวน 200 ตัวที่เพาะเลี้ยงในบริเวณอ่าวอุดม จังหวัดชลบุรี เป็นเวลา 12 เดือน ระหว่างเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2552 ผลการศึกษาพบว่าเนื้อเยื่อหอยหวานปราศจากสารพิษทั้ง 3 ชนิดในเดือนแรกของการปล่อยหอยหวานในทะเลดังกล่าว หลังจากนั้นพบการสะสมของสารเหล่านี้เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการทดลอง โดยพบการสะสมในปริมาณสูงมากหลังเลี้ยงได้ 6 เดือนจนสิ้นสุดการทดลอง โดยมีปริมาณระหว่าง 47.79 ± 5.06 – 550.54 ± 238.01, 156.31 ± 58.74 - 577.76 ±119.19 และ 103.78 ± 46.06 – 588.29 ± 23.04 ng/g ตามลำดับ การสะสมของสารประกอบดังกล่าวในเนื้อเยื่อหอยหวานมีความสัมพันธ์กับการเกิด Imposex ในหอยหวาน นอกจากนี้ระยะเวลาในการสัมผัสและความเข้มข้นของสารประกอบเหล่านี้ในเนื้อเยื่อหอยหวานที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ระดับความรุนแรงของ Imposex เพิ่มสูงขึ้นด้วย ในเดือนแรกของการทดลองหอยหวานที่เลี้ยงไม่เกิด Imposex หลังจากนั้น 2 เดือน หอยหวานเกิด Imposex ในระยะที่ 1 เป็นจำนวน 10% ของหอยหวานทั้งหมด และพัฒนาเข้าสู่ระยะที่ 2 ในเดือนที่ 3 ถึงเดือนที่ 6 โดยเพิ่มเป็น 20% ของหอยหวานทั้งหมด และเพิ่มเป็น 30% และ 40% ในเดือนที่ 7 และเดือนที่ 8  ตามลำดับ จากนั้นตามรุนแรงของการเกิด Imposex พัฒนาเข้าสู่ระยที่ 3 ในเดือนที่ 9 ถึงเดือนที่ 10 ธันวาคม โดยคิดเป็น 40% และเพิ่มขึ้นเป็น 50%  ในเดือนที่ 11 ถึงเดือนที่ 12 การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าทะเลบริเวณอ่าวอุดม จังหวัดชลบุรีมีการปนเปื้อนด้วยสารประกอบบิวทิลทินทั้งสามชนิดซึ่งน่าจะส่งผลให้เกิด Imposex ในหอยหวานที่นำไปเลี้ยงในบริเวณดังกล่าว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตระหนักถึงปัญหานี้ และเร่งให้มีการออกกฎหมายห้ามใช้สีกันเพรียงที่มีส่วนผสมของสารไตรบิทิลทินในประเทศไทย  This study was aimed to investigate imposex occurrence of Babylon snail (Babylonia areolata) in response to monobutyltin (MBT), dibutyltin (DBT) and tributyltin (TBT). Two hundred uncontaminated snails from a nursery farm were cultured in Ao Udom coast, ChooBuri province, Thailand for 12 months (April, 2008 to March, 2009). The results showed that bioaccumulation of MBT, DBT, and TBT in the snail tissues increased rapidly after 6 months of exposure until the end of the study period (from 47.79 ± 5.06 to 550.54 ± 238.01, 156.31 ± 58.74 to 577.76 ± 119.19 and 103.78 ± 46.06 to 588.29 ± 23.04 ng/g, respectively). The bioaccumulation of these compounds in the snail tissues was related to imposex occurrence. Additionally, exposure periods to and concentrations of these compounds influenced the development of imposex stages. Ten percent of the specimen demonstrated the first stage of imposex 2 month after the exposure and developed to the second stage after 3 to 6 months. The third stage of imposex was shown in 40% of the specimen after 9 to 10 months and increased to 50% after 11 to 12 months. This finding revealed that the coastal area of Ao Udom, Chon Buri province was contaminated with butyltin compounds which induced imposex in the Babylon snail reared in that area. The authors suggest that governmental institutions concerned should be aware of coastal contamination of butyltin compounds and the application of antifouling paint containing TBT should be controlled by an enactment of a law.

Downloads

Published

2023-12-20