ผลของความเครียดที่มีต่อการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของพนักงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
Effects of Stress on Occupational Injuries among the Workers at Automobile Body Parts Industry in Chonburi Province
Keywords:
ความเครียด, การบาดเจ็บจากการทำงาน, Stress, Occupational injuryAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความเครียดต่อการบาดเจ็บจากการทำงานของพนักงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี โดยควบคุมปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน ได้แก่ เพศ อายุ แผนกที่ทำงาน และภาระแวดล้อมในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงาน จำนวน 260 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์- เมษายน พ.ศ. 2552 โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มศึกษา เป็นพนักงานที่ประสบอุบัติเหตุและบาดเจ็บจากการทำงานในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา จำนวน 130 คน และกลุ่มเปรียบเทียบซึ่งทำงานอยู่ในแผนกเดียวกันกับกลุ่มศึกษา และเป็นเพศเดียวกัน อายุ ต่างกันไม่เกิน 5 ปี แต่ไม่ประสบอุบัติเหตุและบาดเจ็บในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะการบาดเจ็บ ความเหมาะสมของภาวะแวดล้อม แบบประเมินความเครียด และแบบครอบบุคลิกภาพ สถิติที่ใช้ คือสถิติเชิงพรรณนา ค่าไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติก ผลการวิจัยพบว่า 1) สิ่งที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บส่วนใหญ่ในกลุ่มศึกษา คือ วัสดุสิ่งของกระแทก ทับ ตี หนีบ หรือชน (ร้อยละ 46.2) อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บส่วนใหญ่ คือ มือและนิ้วมือ (ร้อยละ 38.5) ลักษณะการบาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นแผลฉีกขาด (ร้อยละ 36.9) และส่วนใหญ่มีความรุนแรงน้อย (ร้อยละ 86.2) 2) กลุ่มศึกษาส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 33.8) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 36.2) และเมื่อทำการทดสอบทางสถิติด้วยไค-สแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติก พบว่า ความเครียดมีผลต่อการเกิดการบาดเจ็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมี Crude Odds Ratio (OR)= 3.78 (95%CI = 1.56, 9.15)และ Adjusted Odds Ratio (ORa = 3.86(95%CI = 1.58, 9.42) ตามลำดับ ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการกิดการบาดเจ็บของพนักงานโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ดังนั้นผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในสถานประกอบการจึงควรให้ความสำคัญในการศึกษาถึงสาเหตุของความเครียด และดำเนินการจัดการ หรือลดระดับความเครียดในพนักงานลง อันส่งผลให้ลดการเกิดการบาดเจ็บจากการทำงานได้ This study aimed to measure the effect of stress on occupational injuries among automobile body parts industrial workers by controlling extraneous variables such as sex, age personality, department, and physical working conditions. The subjects comprised 130 cases and 130 controls. Cases sere the workers who had injuries during the study period (February to April 2009). Controls were the workers with no injury during and prior to the study period for 2 months. The controls were recruited and matched with cases by sex, age (not more than 5 years difference), and department. Data were collected by interview. The reliability of the instrument for personality was 0.707 and for stress was 0.909 (Cronbach's alpha) Data were described by numbers. percentages, averages and standard deviation and analyzed for association by Odds ratio (95%CI), chi-square test, and multiple logistic regressions. This study found that 1) among 130 cases, the average of injuries during the study period was 2 times higher. The major cause of injury was struck by the object (46.2%). Most of injured organs were hand and tigers (38.5%). Most injuries were mild lacerated wounds (36.9%). After first aid at nursing unit they could go back to continue working (86.2%). 2) Most of the cases had high stress level (33.8%) but most of the controls had moderate stress level (36.2%). It was found that stress was a risk factor to injury with Crude Odds Ratio (ORc) = 3.78 (95%CI=1.56, 9.15) and Adjusted Odds Ratio (ORa) = 3.86 (95%CI=1.58, 9.42) respectively. The study indicated that stress was an important risk factor of occupational injury. Therefore, administrators and safety officers should find out the cause of stress and develop activities to relief stress among workers to decrease occupational injury.Downloads
Published
2023-12-20
Issue
Section
Articles