ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกายของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

Factors Related to Physical Activity among Monks in Muang District, Prachin Buri Province

Authors

  • มณฑิชา นงนุช
  • นิคม มูลเมือง
  • วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม

Keywords:

พระสงฆ์, พฤติกรรมการออกกำลังกาย, การส่งเสริมสุขภาพ, Buddhist monks, Physical activity, Health Promotion

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล (อายุ จำนวนพรรษา ที่บวช การศึกษาทางโลก การศึกษาทางธรรม) การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ ความสามารถตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล และอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการออกกําลังกายของพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์ จำนวน 269 รูป ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบ สอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคต่อการออกกำลังกาย แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองต่อการออกกำลังกายแบบสอบถามอิทธิพลระหว่างบุคคลต่อการออกกำลังกายแบบสอบถามอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมต่อการออกกำลังกายและแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการออกกำลังกายวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสังคมศาสตร์ โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุดค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการออกกำลังกายในระดับสูงมากที่สุด ร้อยละ 61.0 ปัจจัยส่วนบุคคล (การศึกษาทางโลก) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกําลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (rs = 0.138) การรับรู้ความสามารถตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (rs = 0.168) ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนร่วมกับบุคลากรทีมสุขภาพในการจัดโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของพระสงฆ์ ให้มีพฤติกรรมการออกกำลังกายต่อเนื่องและยั่งยืน  The purposes of this research were 10 examine the relationships of personal factors (age, number of years as a monk, education and Buddhist education) perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, interpersonal influence and situation influence with physical activity of monks in Muang district, Prachin Buri province. The theoretical framework was based on Pender's Health Promotion Model. A random sample of 269 monks in this study was obtained through a multi-state sampling. The instruments consisted of questionnaires about demographic data, the perceived benefits of exercise, the perceived barriers of exercise, the perceived self-efficacy of exercise, the interpersonal influence of exercise, the situation influence of exercise and physical activity. The researcher used SPSS for Windows to analyze the data. Data were analyzed by using descriptive statistics and Spearman's rank correlation. The results were as follows: The monks had physical activity at a high level (61.0%). There was positive statistical correlation of personal factors (education) with physical activity at the level of 0.05 (rs = 0.138). There was positive statistical correlation of perceived self-efficacy with physical activity at the level of .01 (rs = 0.168). The research finding can be used to develop a program in cooperation with health care providers to promote self-efficacy among monks in order to have continuous physical activity

Downloads

Published

2023-12-21