ประสิทธิผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกําลังกายของนิสิตที่ศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยบูรพา

An Effectiveness of Self-Efficacy and Knowledge Management Program on Exercise Behavior of Health Science Students, Burapha University

Authors

  • นิยม จันทร์นวล
  • ยุวดี รอดจากภัย
  • นิภา มหารัชพงศ์

Keywords:

พฤติกรรมสุขภาพ, ความสามารถตนเอง, การจัดการความรู้, การออกกำลังกาย, Health behavior, Self-efficacy, Knowledge management, Exercise

Abstract

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการรับรู้ ความสามารถตนเองร่วมกับการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นปี ที่ 1 ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มทดลอง 58 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 60 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับการจัดการความรู้ โดยการประชุมกลุ่ม อภิปรายกลุ่ม แยกคู่มือการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายและการจัดการความรู้ เสนอตัวแบบ สาธิตและฝึกการออกกำลังกายตามตัวแบบการกระตุ้นเตือนจากผู้วิจัยและเพื่อน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม และแบบ บันทึกการตรวจสภาวะสุขภาพทางกาย ทั้งก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample t-test และ Independent simple t-test กำหนดนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถตนเองในการออกกำลังกายความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย การจัดการความรู้ด้านการออกกําลังกาย และพฤติกรรมการออกกำลังกาย ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การจัดโปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับการจัดการความรู้มีผลทำให้พฤติกรรมการออกกำลังกายดีขึ้น ข้อเสนอแนะควรมีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับการจัดการความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น การบริหารความเครียด การเลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มสุราในวัยรุ่นต่อไป  The main purpose of this quasi-experimental study is to determine an effectiveness of self-efficacy and knowledge management program on exercise behavior in health science students, Burapha University. The sample of this study was selected from the first year health science students. There were 58 subjects in the experimental group and 60 subjects in the comparison group. The experimental group received the self-efficacy and knowledge management program by using group discussion, handbook promoting exercise behavior and knowledge management, presentation role model, demonstration, practice exercise from role model and verbal persuasion from researcher and friends. Questionnaires and exercise behavior record were used to collect data both before and after the experiment. Statistical analyses were done using frequency, percentage, mean, standard deviation, paired sample t-test and independent sample t-test at 0.05 level of significance. The main results of this study were as follows; Among the experimental group, perceived self-efficacy, outcome expectation, knowledge management and exercise behavior scores were higher than pretest and than the comparison group (p<0.05). These results indicate that a program to teach self-efficacy and knowledge management program could improve exercise behavior. Recommendations are to use this program of self-efficacy and knowledge management techniques to improve other health behavior programs, such as stress management, anti-smoking and drinking awareness in adolescence people.

Downloads

Published

2023-12-21