ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรซิส ในจังหวัดอุบลราชธานี
Geographic Information System for Leptospirosis Risk Assessment Area in Ubon Ratchathani Province
Keywords:
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, พื้นที่เสี่ยง, โรคเลปโตสไปโรซิส, Geographic Information System, Risk Area, Leptospirosis, EpidemiologyAbstract
โรคเลปโตสไปโรซิสเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเกษตรกรรม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรซิส โดยใช้ขบวนการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ ซึ่งกำหนดปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปริมาณน้ำฝน 2) จำนวนวันที่ฝนตกต่อปี 3) ความหนาแน่นของเส้นทางน้ำ 4) ขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำ 5) ความลาดชันต่ำ 6) การระบายน้ำของพื้นดิน และ 7) แผนที่จำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการให้ค่าคะแนูนและค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัย ทำการซ้อนทับข้อมูลด้วยฟังก์ชั่น Spatial Analyst ผลการศึกษาพบว่าจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เสี่ยงต่อโรคเลปโตสไปโรซิสระดับมากที่สุดครอบคลุมพื้นที่ 5,385.52 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ เสี่ยงระดับมากครอบคลุมพื้นที่ 3,985.67 ตารางกิโลเมตร พื้นที่เสี่ยงระดับปานกลางครอบคลุมพื้นที่ 4,239.96 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่เสี่ยงระดับน้อยครอบคลุมพื้นที่ 1,722.53 ตารางกิโลเมตร การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงสามารถทำนายการระบาดของโรคเลปโตสไปโรซิสได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ เพื่อแก้ไขปัญหา ป้องกัน และควบคุม พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซิสได้ Leptospirosis is still a major public health problem among farmers in Thailand. This study aims to identity the risk area for leptospirosis by using geographic Information System. The study was carried out using potential surface analysis concentrated on proximity factors including 1) rainfall 2) number of days with rain 3) density of streams 4) basin 5) slope 6) drainage of soil and 7) land use. The analysis required rating and weighting scores for each of seven factors. The map was overlaid with data and analyzed by Spatial Analyst function. The results showed that Ubon Ratchathani had the very high risk area which covered 5,385.52 square kilometers. The high, moderate, and low risk areas covered 3,985.67, 4,239.96, and 1,722.53 square kilometers, respectively. The Geographic Information System model is a good tool to predict the epidemic leptospirosis and this tool could be valuable to decision making, problem solving, surveillance and control for leptospirosis in the risk area.Downloads
Published
2023-12-21
Issue
Section
Articles