ระดับและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพของประชากรก่อนวัย สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
The level and factors related to the preparation for entering a high-quality elderly society among the pre-aging population in Mueang District, Chaiyaphum Province
Keywords:
การเตรียมความพร้อม, ประชากรก่อนวัยสูงอายุ, สังคมสูงวัย, Preparation, Pre-aging population, Aging SocietyAbstract
การศึกษานี้มีรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อมกับการเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ ในอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรก่อนวัยสูงอายุ อายุ 50 - 59 ปี จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณาและไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า การเตรียมความพร้อมโดยรวมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ อยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 81.41 รองลงมา คือ ระดับต่ำ ร้อยละ 11.92 และระดับสูงร้อยละ 6.67 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทั้งปัจจัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ รูปแบบการอยู่อาศัย (X2 = 15.104, p <. 004) โรคประจำตัว (X2 = 6.514, p <. 039) และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม (X2 = 21.193, p < .001) ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ควรพัฒนาโปรแกรมการเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพที่สัมพันธ์กับปัจจัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่อไป This cross-sectional study aimed to examine the preparedness and analyze the relationship between personal and environmental factors and the preparedness of the pre-elderly population to enter a high-quality elderly society in Mueang District, Chaiyaphum Province. The study included 285 participants aged 50-59 years. Questionnaires on social support and preparedness for entering the elderly society were used as research tools. Data analysis involved descriptive statistics and chi-square tests. The results revealed that the overall preparedness for entering the elderly society was at a moderate level, with 81.41% falling in the moderate category, 11.92% in the low category, and 6.67% in the high category. Factors related to the preparedness of the pre-elderly population to enter the elderly society were living conditions (X2 = 15.104, p < 0 .004), personal diseases (X2 = 6.514, p < 0.039), and environmental factors such as social support (X2 =21.193, p < 0.001). Based on the study findings, it is recommended to develop a program for enhancing the preparedness of the pre-elderly population to enter a high-quality elderly society, taking into account personal and environmental factors.References
United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division. World Population Prospects: The 2017 Revision, Key Findings and Advance Tables. Working Paper. No. ESA/P/WP/248. New York: UNDESA; 2017.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติสังคม สํานักงานสถิติแห่งชาติ; 2565.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ประชากรทะเบียนราษฎร์ อายุ 60 ปีขึ้นไป จำแนกรายเพศ ปีงบประมาณ 2564 ชัยภูมิ. เข้าถึงจาก: https://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-y60up/changwa t?year= 2022&cw=36. (วันที่ค้นข้อมูล: 5 พฤษภาคม 2566).
สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศสื่อสาร; 2557.
ชัยพัฒน์ พุฒซ้อน, กันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารเครือข่าย ส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2561; 1(1): 25-36.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.
อุทุมพร วานิชคาม. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2562; 25(1): 164-179.
วรรณนา ชื่นวัฒนา, ชูชีพ เบียดนอก. การรับรู้และการเตรียมตัวเพื่อการเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรไทยก่อนวัยสูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 2555; 4(2): 197-208.
ดลนภา ไชยสมบัติ, บัวบาน ยะนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัว เข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2562; 29(3): 131-143.
ภาณุวัฒน์ มีชะนะ, ณิชชาภัทร ขันสาคร, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, เพ็ญศรี พิชัยสนิธ. การเตรียมความพร้อม ของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ ตําบลหนองหญ้าไซ อําเภอหนองหญ้าไซ จังหวัด สุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2560; 11(1): 259-271.
วิไลพร วงค์คีนี, โรจนี จินตนาวัฒน์, กนกพร สุคำวัง. ปัจจัยทำนายพฤฒพลังของประชากรเขตเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 2556; 40(4): 80-90.
Bandura, A. Model of causality in social learning theory Cognition and psychotherapy (81-99): Springer; 1985.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. Multivariate data analysis: Global edition; 2010.
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. อิทธิพลของแรงสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุเขต กรุงเทพมหานคร ปทุมธานีนนทบุรีและสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2563.
Bloom, B. S., Hasting, J. T., & Madaus, G. F. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. แผนพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ (พ.ศ.2561- 2565) ฉบับทบทวน. เข้าถึงจาก: https://www.chaiyaphum.go.th/page_other/Plan_cyp2561-2564.php. (วันที่ค้น ข้อมูล: 5 พฤษภาคม 2566).
กฤษณะพงษ์ ดวงสุภา, สยัมภู ใสทา. การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัยของประชากรก่อนวัยสูงอายุ อำเภอแม่ ทะ จังหวัดลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 2564; 17(1): 52-63.
อารีย์ สงวนชื่อ, พิชสุดา เดชบุญ, รัตนาภรณ์ อาษา, พิชญาวดี ศรีธนต์, ศศิธร นวนเทศ, ณัชชา คงมั่น. ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมของวัยแรงงานเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในเขตโรงงานอุตสาหกรรม อำเภอ กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารกรมการแพทย์, 2561; 43(4): 105-9.
จอห์น โนเดล, นภาพร ชโยวรรณ. การสูงอายุทางประชากร และการอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุในประเทศไทย แนวโน้ม อดีต สถานการณ์ปัจจุบันและความท้าทายในอนาคต. กรุงเทพฯ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ; 2552.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง; 2558.
กัญญารัตน์ แข็งกสิกรณ์, ธานินทร์ สุธีประเสริฐ, วิโรจน์ เอี่ยมระหงษ์ ,สุวรรณี เนตรศรีทอง, สุภาพร บุญศิริลักษณ์ . ปัจจัยที่มีอิทธิพลกับการเตรียมความพร้อม ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชาชน ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2565; 31(1): 36–47.
บรรลุ ศิริพานิช. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและ สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.
นเรศักดิ์ แก้วห้วย, สุปรีชา แก้วสวัสดิ์, เรวดี เพชรศิราสัณห์, จุฑารัตน์ สถิรปัญญา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรอําเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารศูนย์อนามัย, 2565; 9(16): 172- 185.
วชากร นพนรินทร์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคณุภาพของประชาชน ใน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.
Caplan, G. Support systems and community mental health. New York: Behavioral Publication; 1974