รูปแบบการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อน ในการทิ้งและลดยาเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

The model applying self-efficacy theory with peer participatory learning process in discarding and reducing diabetic medication among patients with type 2 diabetes, Mueang Chonburi District, Chonburi Province

Authors

  • สมฤดี สุขอุดม

Keywords:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การประยุกต์รูปแบบภูวดลโมเดล, ความสามารถตนเอง, กลุ่มเพื่อน, การทิ้งยาเบาหวาน, Action Research, Application of Phuwadol Model, Self-efficacy, Peer group, Discarding diabetic medication

Abstract

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อนในการทิ้งและลดยาเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ออกแบบการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ การพัฒนาโปรแกรม การทดลองโปรแกรมและประเมินผลลัพธ์ของโปรแกรม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 16 แห่ง จำนวน 204 คน สมัครใจเข้าร่วมโปรแกรมดำเนินโปรแกรมเป็นเวลา 3 เดือน โปรแกรมการทดลองออกแบบจากการทบทวนความสำเร็จของโรงเรียนบางระกำ โรงพยาบาลบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (ภูวดลโมเดล) โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเพื่อน ประกอบด้วยกิจกรรม การบรรยายความรู้/สาธิตเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เรียนรู้จากบุคคลตัวอย่างที่ทิ้งยาเบาหวานได้ การส่งการบ้านและติดตามกำกับรายการอาหารที่รับประทานและผลการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วผ่านกลุ่ม line สัปดาห์ละ 2 วัน โดยมีพยาบาลเป็นที่ปรึกษา แนะนำ ให้กำลังใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับรายการอาหารและผลการเจาะเลือดกับกลุ่มเพื่อนผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการด้วยกัน ส่วนแพทย์เป็นผู้วางแผนการรักษาและปรับลดยาเบาหวาน เมื่อเสร็จสิ้นโปรแกรม มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ที่ทิ้งยาเบาหวานสำเร็จ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบรายงานการบันทึกผลการเจาะเลือด แบบสรุปรายงานการบันทึกการรักษาและค่ายาเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติ t-test และ z-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลองผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน การรับรู้ความคาดหวังผลดี พฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ค่าเฉลี่ยระดับ FBS และ SGPT ดีกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม (p<0.001, p=0.002) แต่ไม่พบว่าค่าเฉลี่ย HbA1C, BUN. Cr, eGFR, SGPT, TG, TC, HDL, LDL และ Urine microalbumin แตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังการทดลอง (p>0.05) ผู้ป่วยสามารถทิ้งและลดยาเบาหวานได้ร้อยละ 45.1 ซึ่งเกินเป้าหมายร้อยละ 30 โดยทิ้งยาร้อยละ 8.8 และลดยาร้อยละ 36.3 และลดราคาค่าเฉลี่ยยาเบาหวานต่อเดือนจาก 432.78 บาท เป็น 391.44 บาท ดังนั้น ความสำเร็จของโปรแกรมทดลองครั้งนี้สามารถนำไปขยายผลโดยประยุกต์ใช้ในเขตเมืองและเขตชนบทตามบริบทของพื้นที่ทุกอำเภอในเขตจังหวัดชลบุรี  The objective of this action research was to study the effectiveness of applying self-efficacy theory with a peer participatory learning process to discard and reduce diabetic medication among patients with type 2 diabetes mellitus in the Mueang Chonburi District, Chonburi Province. The research was designed in three phases: program development, program implementation and evaluation, and program results assessment. The sample group consisted of 204 diabetic patients receiving treatment at the Sub-District Health Promoting Hospital who volunteered to participate in the program for a duration of 3 months. The experimental program was designed based on a review of the success of Bang Rakam School's program in Phitsanulok Province (Phuwadol Model). It involved applying the theory of self-efficacy and the peer participatory learning process. The activities included knowledge lectures/ demonstrations about diabetes, learning from examples of people who successfully discontinued their diabetes medication, homework assignments, and monitoring of dietary intake and blood glucose levels using the Line messaging app twice a week. The program included a nurse as a consultant, providing advice, encouragement, and facilitating the exchange of knowledge regarding dietary plans and blood test results among the participants. The physician was responsible for treatment planning and reducing diabetes medication. Upon program completion, certificates were awarded to those who successfully discontinued diabetes medication. The data collection tools consisted of an interview form, a report form for recording blood collection results, and a summary report form recording treatment and diabetes medication costs. Statistical analysis using descriptive statistics, t-tests, and z-tests was conducted. The study findings revealed that after the experiment, type 2 diabetic patients had significantly higher average scores in self-efficacy, outcome expectations, and self-care behaviors in controlling blood sugar levels compared to before the experiment (p < 0.001). The mean values of fasting blood sugar (FBS) and serum glutamic pyruvic transaminase (SGPT) also significantly improved compared to before the program (p < 0.001, p = 0.002). However, there were no significant differences in the mean values of HbA1C, BUN, Cr, eGFR, SGPT, TG, TC, HDL, LDL, and urine microalbumin between before and after the experiment (p > 0.05). The patients were able to discard or reduce diabetes medication by 45.1%, exceeding the target of 30%. They discarded medication by 8.8% and reduced medication by 36.3 %, leading to a decrease in the average monthly cost of diabetes medication from 432.78 baht to 391.44 baht. Therefore, the success of this experimental program can be expanded and applied in urban and rural areas in all districts of Chonburi Province, considering the context of each specific area.

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas. 9th ed. Brussels: International Diabetes Federation; 2019. file:///C:/Users/Hp%20 Pavilion/Downloads/IDF Atlas%202019_UK.pdf]. [cited 2023 May 9].

กลุ่มโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี. รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัดชลบุรี พ.ศ.2563.

แนวคิดของโรงเรียนเบาหวานบางระกำ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (ภูวดลโมเดล). [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.youtube.com/watch?v=z3YRoUZDMps

Bandura A. Self-Efficacy: Toward Unifying Theory of Behavioral Change Psychological. Psychological Review,1977; 84(2) 191-215.

Bandura A. Social Foundations of Thought and Action: A Social Cognitive Theory. New York: Prentice-Hall, 1986; 391.

Zhai Y & Yu W. A Mobile App for Diabetes Management: Impact on Self-Efficacy Among Patients with Type 2 Diabetes at a Community Hospital. Med Sci Monit, 2020; 26: e926719

Bandura A. Self-Efficacy. New York: W. H. Freeman and Co., 1997.

Wu S-FV, Courtney M, Edwards H, McDowell J, Shortridge-Baggett LM, Chang P-J. Self-efficacy, outcome expectations and self-care behaviour in people with type 2 diabetes in Taiwan J Clin Nurs, 2007; 16, 11c: 250–57.

Feather NT. Expectations and actions: Expectancy-value models in psychology. Hillsdale: Erlbaum, 1982: 1

Tharek Z, Ramli AS, Whitford DL, Ismali Z, Zulkifli MM, Sharoni SKA and et al. Relationship between self-efficacy, self-care behaviour and glycaemic control among patients with type 2 diabetes mellitus in the Malaysian primary care setting. BMC Family Practice, 2018: 19–39.

ธีรพล ผังดี, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา, อลิสา นิติธรรม, สายสมร เฉลยกิตติ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลทหารบก, 2560; 18(1): 291-8.

บุญฤทธิ์ เฮ็งไล้, กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, วรพล แวงนอก. การพัฒนาโปรแกรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน. วารสารราชนครินทร์, 2559; (2): 151-60.

Ghodrati N, Haghighi AH, Kakhak SAH, Abbasian S, Goldfield GS. Effect of Combined Exercise Training on Physical and Cognitive Function in Women with type 2 diabetes. Can J Diabetes, 2023; (47): 162-70.

Downloads

Published

2023-12-27