ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้ชุดหูฟังเพลงทางโทรศัพท์มือถือ และสมรรถภาพการได้ยินของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

The Relationship between Earphone Use and Hearing Ability of Students of Sirindhorn College of Public Health, Chonburi

Authors

  • หัทยา เพ็ชรเจริญ

Keywords:

ชุดหูฟัง, พฤติกรรม, ความสามารถในการได้ยิน, ขีดเริ่มของการได้ยิน, การสูญเสียการได้ยิน, Earphones, Behaviors, Hearing ability, Hearing threshold, Loss of hearing

Abstract

จากการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้ชุดหูฟังและสมรรถภาพการได้ยินของนิสิตปีที่ 4 ในวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธร ที่ผ่านมาพบว่ามีอาการหูอื้อ ปวดหู ปวดศีรษะสูงถึงร้อยละ 52 การศึกษาครั้งนี้จึงต้องการ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการฟังเพลงผ่านทางชุดหูฟังของโทรศัพท์มือถือกับสมรรถภาพการได้ยินในนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี จำนวน 137 คน โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ชุดหูฟัง และเครื่องตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometer)  ผลการศึกษา พบว่านักศึกษาที่ใช้ชุดหูฟังเพลงทางโทรศัพท์มือถือ เป็นเพศหญิงร้อยละ 92 รับรู้ว่าการใช้ชุดหูฟังมีอันตรายต่อการได้ยินร้อยละ 82.5 ใช้ชุดหูฟังต่อเนื่องเป็นเวลา 1-2 ปี และ 3-4 ปี ร้อยละ 70.8 และ 23.4 ตามลำดับ ใช้ชุดหูฟังกับหูทั้ง 2 ข้างและหูข้างขวา ร้อยละ 64 และ 27 ใช้ชุดหูฟังที่มีฟองน้ำหุ้ม ร้อยละ 55.5 ใช้ชุดหูฟังแต่ละครั้งเป็นเวลา 60 นาทีขึ้นไป ร้อยละ 75.9 ฟังเพลงด้วยระดับความดังของเสียง 6 ใน 10 ส่วนของความดัง สูงสุดของเครื่องขึ้นไป ร้อยละ 75.9 ใช้ชุดหูฟังสัปดาห์ละ 1-15 ชั่วโมง ร้อยละ 90.5 ใช้ชุดหูฟังขณะนอนหลับ ร้อยละ 30.7 โดยใช้ขณะหลับ 2-3 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 24 ใช้ขณะหลับทุกวัน ร้อยละ 2 มีอาการผิดปกติหลังการใช้ชุดหูฟัง ร้อยละ 39.4 และรู้สึกว่าการใช้ชุดหูฟังทำให้ระดับการได้ยินลดลง ร้อยละ 27.7 นักศึกษามีระดับการได้ยินมากกว่า 25 dB ที่ความถี่ 250 และ 500 Hz ในหูทั้ง 2 ข้าง และมีค่าเฉลี่ยระดับการได้ยินที่ความถี่การสนทนา (500, 1000, 2000 Hz) ในระดับหูตึงเล็กน้อย (มากกว่า 25-40 dB) ที่หูข้างซ้ายและขวา ร้อยละ 48.2 และ 41.6 ตามลำดับ นักศึกษามีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชุดหูฟัง แต่ละครั้งนานกว่า 60 นาทีขึ้นไป ใช้ชุดหูฟังขณะนอนหลับ และฟังเสียงด้วยระดับความดังของเสียงมากกว่า 85 dB ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชุดหูฟังจึงจำเป็นต้องให้นักศึกษาตระหนักถึงอันตรายดังกล่าว มีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของตนเอง วางแผนการแก้ไขให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลตรวจสมรรถภาพการได้ยินทุกปีเพื่อติดตามกลุ่มเป้าหมายที่มีการใช้ชุดหูฟังทุกปี นอกจากนี้ควรศึกษาผลของการ ใช้ชุดหูฟังที่มีที่ครอบหูประเภทต่างๆ ต่อสมรรถภาพการได้ยิน   A prior research at this college indicated that 52 percent of fourth year students complained of pain and pressure in the ears or had headaches. This cross-sectional study explored the relationship between earphone use and students hearing ability. Research tools were a questionnaire, an audiometer and a software program was used for data analysis.  137 students used earphones for mobile phone or MP3 and most of them (92%) were female. Most students (82.5%) were aware of dangers of using earphones towards their hearing ability. They had continuously used earphones for 1-2 years and 3-4 years (70.8% and 23.4%) respectively. Earphones were used with both ears by 64% and with the right ear by 27% of subjects. More than half of the students used earphones with sponge covers and three quarters used earphones for more than 60 minutes each time. It was found that 75.9% turned the volume up to 6 out of 10. Ninety percent used earphones for 1-15 hours in a week and about thirty percent used earphones when they were going to fall asleep. In addition, 24% used earphones while sleeping 2-3 times per week and 2% of them used earphones when they were asleep every day. Results also revealed that 39.4% had some symptoms after using earphones and 27.7% the student had hearing levels of more 25 dB at the frequencies of 250 and 500 Hz in both ears, and were mildy hard of hearing (>25-40 dB) at median of the speech frequency (500, 1000 and 2000 Hz) in right and left ears (48.2% and 41.6% respectively). The students in this study still took risks in that they used earphones more than 60 minutes each time, used earphones while sleeping and turned the volume up to more than 85 dB. It is important to make them aware and realize the danger from earphones, and help them plan appropriate strategies for their individual behavior change. In addition, they should have a hearing check-up at least once a year. Monitoring should be conducted with research populations who had used earphones every year and studies on effects of other types of earphones cover towards hearing capacity should be investigated.

Downloads

Published

2023-12-25