ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Factors Affecting Dietary Supplementary Consumption Behavior Among Female Students at Vocational Certificate Level

Authors

  • ประภาศรี เพลงอินทร์
  • เอมอัฌชา วัฒนบุรานนท์
  • ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม
  • รจฤดี โชติกาวินทร์

Keywords:

พฤติกรรมการบริโภค, ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก, นักเรียนอาชีวศึกษา, Consumer behavior, Weight loss dietary supplements, Vocational female students

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 359 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยการทำนายด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีอายุเฉลี่ย 17 ปี ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 56.82 ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ร้อยละ 72.70 และมีความพึงพอใจในรูปร่างของตนเอง ร้อยละ 55.43 โดยส่วนใหญ่นักเรียนเข้าถึงแหล่งซื้อขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ร้อยละ 91.36 และการได้รับข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 68.52 ในขณะที่คะแนนความรู้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 71.31 (ค่าเฉลี่ย =  16.33 ± 3.86 ) ทัศนคติอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 71.59 (ค่าเฉลี่ย = 36.59 ± 6.83) และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 52.37 (ค่าเฉลี่ย = 20.11 ± 3.33) และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ได้แก่ ทัศนคติ (β = 0.420, p < 0.001) ประวัติการบริโภค (β = 0.399, p < 0.001) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (β = -0.154, p < 0.01) และสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ได้ร้อยละ 28.7 (Adj. R2 = 0.287, p < 0.001) ผลการศึกษาดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักที่ถูกต้อง และเหมาะสมให้แก่นักเรียนนักศึกษาต่อไป  This cross-sectional descriptive research aimed to determine the factors affecting the consumption behavior of weight loss dietary supplements among female students at vocational certificate-level in Pathum Thani province. The samples were 359 female students that were employed by a stratified sampling technique. Data was collected by questionnaire and analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The result found that the average age of female students were 17 years old, the BMI values of 56.82 %, the majority of were within the normal level, 72.70 % of them have never a history of consuming weight loss dietary supplements and 55.43 % expressed satisfaction with their body shape. Most students accessing sources of purchasing weight loss dietary supplements was 91.39 % and receiving information was at low level for 68.52 %. Moreover, score of the knowledge was at good level for 71.31 % (mean = 16.33 ± 3.86), a good level of attitude for 71.59 % (mean = 36.59 ± 6.83) and the consumption behavior of weight loss dietary supplements was also good level for 52.37 % (mean = 20.11 ± 3.33). The factors affecting the consumption behavior of weight loss dietary supplements were attitudes (β = 0.420, p < 0.001), a history of consuming (β = 0.399, p < 0.001) and receiving information (β = -0.154, p < 0.01) were statistically significant predictors of the weight loss dietary supplements consumption behavior at 28.7 % (Adjusted R2 = 0.287, p < 0.001). This research results recommend related agencies and healthcare personnels to promote the correct and suitable behaviors in consuming weight-loss dietary supplements continuously.

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำรวจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชากร (พฤติกรรมการบริโภคอาหาร). [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://shorturl-ddc.moph.go.th/GECVo.

WHO. Overweight and the global health situation. [internet]. [cited: 2021 December 3]. Available from: https://www.who.int/home/search?indexCatalogue=genericsearchindex1& searchQuery=Obesity&wordsMode=AllWords.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. พิษร้าย “ไซบูทรามีน”. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 4 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://zhort.link/jEa.

ศูนย์บริการวิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ธุรกิจบัณฑิตย์โพลเผยชาวกรุงซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ-อาหารเสริม ครั้งละไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dpu.ac.th/dpurdi/survey/31.

ชวัล วินิจชัยนันท์, ปรีชา วิจิตรธรรมรส. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. Journal of Management Walailak University, 2560; 6(1): 84-90.

วารุณี ชลวิหารพันธ์. ความชุกของการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อควบคุมน้ำหนักอย่างไม่เหมาะสมของวัยรุ่นหญิงในจังหวัดสระบุรีและปัจจัยที่มีผล. วารสารเภสัชกรรมไทย, 2559; 8(2): 442-455.

สุพัตรา บุตราช และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2561; 33(3): 359-374.

ฐิติกาญจน์ พลับพลาสี และพรรษพร เครีอวงษ์. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรแม่สอด. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ, 2559; 1439-1451.

Green, L.W., Gielen, A.C., Ottoson, J.M., Peterson, D. V., & Kreuter, M. W., Health Program Planning, Implementation, and Evaluation: Creating Behavioral, Environmental and Policy Change. Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2022.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. จำนวนนักเรียน-นักศึกษาทั้งหมด จำแนกตามสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล : 10 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.esbuy.net/_files_school/00000789 /data/00000789_1_20210702-090428.pdf.

Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row, 1973.

Bloom, B. S. Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1, 1968.

Best, J. W. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc, 1977.

กนกพร มณีมาส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารอ้างสรรพคุณลดน้ำหนักของนักเรียนหญิงระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่ค้นข้อมูล: 20 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/193881.

Kolb, D. A. Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, N.J., 2005; 38.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560”. ราชกิจจานุเบกษา, 2560; เล่ม 134.

Downloads

Published

2024-06-04