ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

Factors Associated with Sleep Quality Among the Elderly in Cham Pa Wai Sub-District, Mueang Phayao District, Phayao Province, Thailand

Authors

  • ภัทรลิตา วงค์คำ
  • ชนิกา เข่งแก้ว
  • พิมมาดา ทะสอน
  • อลงกรณ์ เกษมวัฒนา
  • สุนิษา โสภา
  • ภัทริน แนวหน่อ
  • รัตนากร แสงปัญญา
  • มณุเชษฐ์ มะโนธรรม

Keywords:

คุณภาพการนอนหลับ, การนอนไม่หลับ, ผู้สูงอายุ, Sleep Quality, Insomnia, Elderly

Abstract

ปัญหาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุส่งผลกระทบต่อร่างกายจิตใจและสังคมของผู้สูงอายุการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุและหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวาย อําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุอายุ 60 ปี ขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จำนวน 139 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีระดับคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 51.1) มีระดับสภาพจิตใจและสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 77.0) มีระดับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 67.6) พบว่า เพศมีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (X2= 6.132, p = 0.047) และสภาพจิตใจและสังคม สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs= .451, p = < 0.001), (rs= .477, p = < 0.001) ดังนั้น ควรมีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับของผู้สูงอายุ หรือจัดโครงการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น และประเมินปัจจัยรบกวนการนอนหลับของผู้สูงอายุ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป  Insomnia has an adverse impact on the physical, mental, and social well-being of the elderly. Therefore, this cross-sectional descriptive study aimed to examine the quality of sleep among the elderly and identify its correlated factors in Cham Pa Wai Sub-district, Mueang Phayao District, Phayao Province. For data collection, 139 respondents aged 60 years and above and living in Cham Pa Wai Sub-district were selected through simple random sampling using a sleep quality among the elderly self-administered questionnaire. Data were collected from June to July 2023 and analyzed using descriptive statistics, employed to describe data, the Chi-square test, and Spearman’s rank correlation coefficient to test correlation. The results of the level of sleep quality among the elderly are as follows: Most of them (51.1%) had a low quality of sleep, resulting from psychological and social conditions. The majority of them (77.0%) experienced a low level of psychological and social conditions. Furthermore, the environment affected their quality of sleep, as most of the elderly (67.6%) lived under poor environmental conditions. Gender was also found to have a statistically significant correlation with sleep quality among the elderly (X2 = 6.132, p = 0.047). Additionally, the level of psychological and social conditions and environment were found to be positively related to the object of the study, with a statistical significance of rs = .451, p = < 0.001 and rs = .477, p = < 0.001, respectively. Therefore, activities aimed at changing the sleep behavior of the elderly and the promotion of projects for improving their sleep quality are required. An evaluation of the factors disrupting the sleep of the elderly is also necessary in order to obtain relevant information for preventing future health issues.

References

อธิวัฒน์ อุต้น. เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด. เข้าถึงจาก https://urban creature.co/aged-society. (วันที่ค้นข้อมูล: 1 กุมภาพันธ์ 2566).

สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย. ความรู้และปัญหาการหลับที่น่าสนใจ. เข้าถึงจาก http://www.tmwa.or.th/ download/sleep.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 6 เมษายน 2567).

Williams P. Basic Geriatric Nursing. 7th ed. Missouri: Elsevier; 2020.

Schwartz S, Anderson WM, Cole SR, Cornoni Huntley J, Hays JC, Blazer D. Insomnia and heart disease: a review of epidemiologic studies. Journal of Psychosomatic Reseaarch 1999; 47(4): 313-33.

ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์. ปัญหาการนอนหลับในผู้สูงอายุและแนวทางการจัดการทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ และสุขภาพ, 2563; 43(1): 139-150.

Leger D, Guilleminault C, Bader G, Levy E, Paillard M. Medical and socioprofessional impact of insomnia. Sleep 2002; 25(6): 625-9.

Closs SJ. Sleep. In: Alexander MF, Faweett JN, Runciman PJ, editors. Nursing practice: hospital and home-the adult. Edinburgh: Churchill Livingstone 1999: 743-56.

ธิติมา ณรงค์ศักดิ์, ฐิติมา สงวนวิชัยกุล, วรพงศ์ ตรีสิทธิวนิช. การนอนหลับและสุขอนามัยการนอนหลับ. วารสารสถาบัน จิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 2563; 14(2): 69-85.

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร. การนอนหลับของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล, 2564; 36(2): 18-31.

กัมปนาท สุริย์, กุลนิดา สุนันท์ศิริกูล, กิตติยารัตน์ ต้นสุวรรณ์. คุณภาพของการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุชุมชนเขตเมืองนครสวรรค์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3, 2565; 19(1); 15-27.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. รายงานประจำปี 2560 กรมกิจการผู้สูงอายุ. เข้าถึงจาก https://www.dop.go.th/ download/implementation/th1526982021-1152_0.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 10 พฤศจิกายน 2565).

ปัญหาสาธารณสุข. สาเหตุการป่วยรายปีคนในเขตพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา ตำบลจำป่าหวาย. เข้าถึงจาก http://203.209.96.243/phealth/web/hstatus/default/hproblem?cat_id (วันที่ค้นข้อมูล: 29 มกราคม 2567).

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานข้อมูลตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. เข้าถึงจาก https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_ampur?region=1&prov=NTY=&provn=4Lie4Liw4LmA4Lii4Liy (วันที่ค้นข้อมูล: 16 มกราคม 2567).

Cochran WG. Sampling Techniques. 3rd edition New York: John Wiley & Sons; 1977.

Hair JF, Black WC, Babin, BJ, Anderson, RE. Multivariate Data Analysis. Cengage; 2018.

Spira AP, Covinsky K, Rebok GW, Punjabi NM, Stone KL, Hillier TA, Redline S. Poor sleep quality and functional decline in older women. Journal of the American Geriatrics Society 2012; 60(6): 1092-1098.

Benloucif S, Orbeta L, Ortiz R, Janssen I, Finkel SI, Bleiberg J, Zee PC. Morning or evening activity improves neuropsychological performance and subjective sleep quality in older adults. Sleep 2004; 27(8): 1542-1551.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

จิตติยา สมบัติบูรณ์, นุชนาถ ประกาศ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 2565; 33(1): 239-250.

โชติมันต์ ชินวรารักษ์, สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย, นัฏศรา ดำรงค์พิวัฒน์. คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องใน ผู้สูงอายุที่หมู่บ้านประชานิเวศน์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 2561; 63(2): 199-210.

ลักขนา ชอบเสียง, พนัชญา ขันติจิตร, ชนุกร แก้วมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 2566; 41(2): 1-11.

สนธยา มณีรัตน์, สัมพันธ์ มณีรัตน์, พรรณนา เรืองกิจ, ณัฏฐนี ชัวชมเกตุ. คุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยรบกวนวิธีการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับและความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยรบกวนของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณทิต, 2564; 11(1): 10-24.

นุสบา ใจซื่อ, อภิญญา ธรรมแสง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุในตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพกับการสาธารณสุขชุมชน, 2564; 4(1): 81-95.

ธัญวรรณ เพ็ชรน้อย. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มารับบริการในหน่วยปฐมภูมิ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 2563; 3(2): 51-73.

สาวิตรี พลเยี่ยม, เทพไทย โชติชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพกับการสาธารณสุขชุมชน, 2564; 4(2): 33-44.

Downloads

Published

2024-06-04