การควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการจัดการตนเองและครอบครัว

The Control of Sugar Level Among Type 2 Diabetic Patients by An Individual and Family Self-management

Authors

  • ทรงกรฎ ศฤงคาร
  • ตฤณ ทิพย์สุทธิ์
  • กัลยา มั่นล้วน

Keywords:

การควบคุมระดับน้ำตาล, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2, การจัดการตนเองและครอบครัว, sugar level control, type 2 diabetes patients, Individual and family self-management

Abstract

โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีความสำคัญมากและพบบ่อยอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและของโลก โรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวอาจเกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของตัวผู้ป่วย รวมทั้งส่งผลกระทบต่อครอบครัวในการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนจากการที่ต้องดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติ การควบคุมโรคเบาหวานต้องอาศัยการจัดการตนเองในการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยาและการจัดการความเครียดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตให้ดีขึ้นอันเป็นการรักษาหลักของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งนี้จะอาศัยเพียงการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องอาศัยการจัดการของครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยเพราะการที่ครอบครัวได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการตนเองร่วมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานทำให้ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจโรคและผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถทำหน้าที่ของครอบครัว ให้การสนับสนุนผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเมินและให้การดูแลเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคเบาหวานได้อันเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดความมั่นใจในการจัดการตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้  Diabetes is a very important disease and is frequently found in the group of non-communicable diseases and is an important public health problem in the country and the world. Diabetes causes health complications, both acute and chronic. Such complications may affect the patient's lifestyle. Including the impact on families in performing their duties that require adjustments from having to take care of diabetic patients. Therefore, it is very important that people with diabetes control their sugar levels within normal limits or close to normal. Controlling diabetes requires self-management of your diet, exercise taking medication, and managing stress to change lifestyle habits for the better is the main treatment for people with diabetes. However, relying only on the self-management of diabetic patients alone is not enough. It requires family management to participate in changing the behavior of diabetic patients as well. Because the family participates in the self-management process with the diabetic patient, the family has knowledge. Understanding the disease and how people with diabetes can act as a family. Provide support for people with diabetes Assessing and providing care when acute complications from diabetes occur is a very important part in making people with diabetes gain confidence in self-management in order to change their own behavior to control blood sugar levels.

References

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/. (วันที่ค้นข้อมูล: 11 ธันวาคม 2566).

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. รายงานตามตัวชี้วัดNCD ClinicPlus. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/. (วันที่ค้นข้อมูล : 11 ธันวาคม 2566).

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566 (Clinical Practice Guideline for Diabetes 2023). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2566.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2560. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก : https://apps.boe.moph.go.th/boeeng/download/AESR-6112-24.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 7 สิงหาคม 2562).

จินตนา วัชรสินธุ์. การพยาบาลครอบครัวที่มีสมาชิกเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์; 2560.

จำเนียร พรประยุทธ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ และสมสมัย รัตนกรีฑากุล. ผลของโปรแกรมการชี้แนะต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและค่าเฉลี่ยน้ำตาลสะสมในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560; 25(4): 60-69.

ลักษณา พงษ์ภุมมา และศุภรา หิมานันโต. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จัวหวัดชลบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 2560; 20(40): 67-76.

เพียวพันธุ์ อุสาย, นิรมล เมืองโสม และประยูร โกวิทย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2555; 5(3): 11-20.

American Diabetes Association (ADA). Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Medical Care in Diabetes - 2023. Diabetes Care, 2023; 46(suppl.1): S68-S86.

นงนุช โอบะ, สุภาพร แนวบุตร และปรทุมา ฤทธิ์โพธิ์. ประสบการณ์การจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2565; 30(4): 64-77.

ชดช้อย วัฒนะ. การสนับสนุนการจัดการตนเอง: กลยุทธในการส่งเสริมการควบคุมโรค Self-management Support: Strategies for Promoting Disease Control. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทรบุรี. 2558; 26(1): 117-127.

Ryan P, Sawin KJ. The individual and family Salf-management theory: background and perspective on context. NIH Public Access Author Manuscript 2009, 2009; 57(4): 217-225.

Kanfer, F. & Goldstein, A. Helping people change. (2nded). New York: Pergamon; 1980.

Creer, L. T. Self-management of chronic illness. In Boekaerts, M., Printrich, P. R., & Zeidner, M. (Eds.). Handbook of self-regulation. San Diego, CA: Academic Press; 2000.

Lorig, K. & Holman, H. Self-management education: History, definition, outcome and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 2003; 26(1): 1–7.

Cormier, S., Nurius, Paula S. & Osborn, Cynthia J. Interviewing and change strategies for helpers: Fundamental skills and cognitive behavioral intervention. (6thed). Albany: International Thomson Publishing; 2008.

ดารุณี จงอุดมการณ์. การพยาบาลสุขภาพครอบครัว: แนวคิดทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในครอบครัวระยะวิกฤต Family Health Nursing: Theory and Application for families with crisis situations(พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2561.

สุริยา ฟองเกิด และศุภรา หิมนันโต. ตำราการพยาบาลครอบครัว. ชลบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี; 2559.

Clark, M. J. Community Health Nursing: Advocacy for Population Health. 5thed. New York: Prentice Hall; 2008.

Friedman, M.M., Bowen, V.R., & Jones, E.G. Family Nursing: Theory and Practice 5thed. New Jersey: Upper Saddle River; 2003.

Grey, M., Knafl, K. & McCorkle, R. A framework for the study of self-and family management of chronic conditions. Nursing Outlook, 2006; 54(5): 278-286.

ราม รังสินธุ์, ปิยทัสน์ ทัศนาวิวัฒน์ และคณะทำงานเจ้าหน้าที่เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย. การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำปี 2561. โครงการประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูง. เข้าถึงได้จาก : http://dmht.thaimedresnet.org/document/1_รายงานฉบับสมบูรณ์.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 24 มกราคม 2564).

กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 2557; 15(3): 256-268.

ปัทมา สุพรรณกุล, สุทธิชัย ศิรินวล, เจษฎากร โนอินทร, มาลา ชโยดม และอรพินท์ สิงหเดช. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสาสตร์และเทคโนโลยี, 2560; 11( 1): 211-223.

พณิตา เซี่ยงจ๊ง, ธนัช กนกเทศ และปัทมา สุพรรณกุล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารพยาบาลและสุขภาพ, 2557; 6(3): 30-38.

อภิญญา บ้านกลาง, อุดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์ และปริศนา รถสีดา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 2559; 23(1): 85-95.

กมลพร สิริคุตจตุพร, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และนารีรัตน์ จิตรมนตรี. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล, 2560; 32(1): 81-93.

อภิชัย คุณีพงษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. วารสารกรมการแพทย์, 2561; 43(3): 101-107.

ดวงหทัย แสงสว่าง, อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และนิลาวรรณ งามขำ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2561; 8(1): 103-117.

สุพาพร เพ็ชรอาวุธ, นันทิยา วัฒายุ และนันทวัน สุวรรณรูป. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์, 2554; 29(4): 18-26.

อายุพร กัยวิกัยโกศล, อัศนี วันชัย, อัญชลี แก้วสระศรี และอนัญญา คูอาริยะกุล. การจัดการความเครียดของผู้ป่วยเบาหวานไทย: การสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 2561; 10(2): 1-16.

ทรรศนีย์ สิริวัฒนพรกุล, นงนุช โอบะ, และสุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศว, 2550; 1(2): 57-67.

ธีรนันท์ วรรณศิริ. สัมพันธภาพในครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้. วารสารเกื้อการุณย์, 2559; 23(2): 31-50.

นภารัตน์ ธัญถิรโสภนากุล, จินตนา วัชรสินธุ์ และวรรณี เดียวอิศเรศ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการของครอบครัวที่มีสมาชิกครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2, วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554; 19(ฉบับเพิ่มเติม1): 35-49.

กมลพรรณ วัฒนากร และอาภรณ์ ดีนาน. การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 2556; 27(2): 143-156.

เครือฟ้า ศรีรังษ์. การรับรู้ด้านการควบคุมอาหารที่มีผลต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโนนสวรรค์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 2556; 7(2): 3-8.

จักรกฤษณ์ วังราษฎร์, สุวินัย แสงโย และกัญญาณัฐ อุ่นมี. อุปสรรคในการดำเนินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2561; 6(2): 351-361.

Vijan, S., N. S. Stuart, J. T. Fitzgerald, D. L. Ronis, R. A. Hayward, S. Slater and T. P. Hofer. Barriers to following dietary recommendations in Type 2 diabetes. Diabetic Medicine, 2005; 22(1): 32-38.

Dutton, G. R., J. Johnson, D. Whitehead, J. S. Bodenlos and P. J. Brantley. Barriers to physical activity among predominantly low-income African American patients with type 2 diabetes. Diabetes Car, 2005; 28(5): 1209-1210.

Lawton, J., N. Ahmad, L. Hanna, M. Douglas and N. Hallowell. ‘I can't do any seriousexercise’: barriers to physical activity amongst people of Pakistani and Indian origin with Type 2 diabetes. Health Education Research, 2005; 21(1): 43-54.

จูณี คงทรัพย์และ นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. การจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายใน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 2555; 30(2): 57-64.

ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, สุปรียา ตันสกุล และพิศาล ชุ่มชื่น. ความรู้ และความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่รับประทานยาตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง. Veridian E-Journal Science and Technology Slipakorn University, 2557; 1(1): 1-12.

Doggrell, S. A. and S. Warot. The association between the measurement of adherence to anti-diabetes medicine and the HbA1c. International Journal of Clinical Pharmacy, 2014; 36(3): 488-497.

Aikens, J.E. and J.D. Piette. Longitudinal association between medication adherence and glycemic control in Type 2 diabetes. Diabetic Medicine, 2013; 30(3): 338-344.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการความเครียดสำหรับวัยทำงาน. เข้าถึงได้จาก : http://www.hed.go.th/. (วันที่ค้นข้อมูล : 7 สิงหาคม 2562).

Wen, L. K., M. L. Parchman & M. D. Shepherd. Family support and diet barriers among older Hispanic adults with type 2 diabetes. Clinical Research and Methods, 2004; 36(6): 423-430.

Rosland, A.-M., M. Heisler, H.-J. Choi, M. J. Silveira and J. D. Piette. Family influences on self-management among functionally independent adults with diabetes or heart failure: do family members hinder as much as they help?. Chronic Illness, 2010; 6(1): 22-33.

Mayberry, L. S. and C. Y. Osborn. Family support, medication adherence, and glycemic control among adults with type 2 diabetes. Diabetes Care, 2012; 35(6): 1239-1245.

ทรงกรฎ ศฤงคาร, มยุรี นิรัตธราดร และปรีย์กมล รัชนกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองและครอบครัวต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 2565; 38(1): 86-96.

ญณัช บัวศรี. ผลของโปรแกรมการจดัการตนเองและครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับน้ําตาลในเลือดของผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่2(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาวิชากาพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว, คณะพยาบาลศาสตร์ : ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

แสงอรุณ สุรวงค์ และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560; 29(1): 104-116.

ณัฐธยาน์ วิสารพันธ์, จิตร มงคลมะไฟ, นิบพร แสนโท และวราทิพย์ แก่นการ. ประสิทธิผลของการจัดการตนเองและครอบครัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดยโยธร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 2563; 38(4): 102-111.

Downloads

Published

2024-06-04