การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรายวิชาภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

The Development of Active Learning Management by Using Digital Technologies in Thai subject to Enhance Creative Thinking Skills for Grade 4 Students of “Piboonbumpen” Demonstration School, Burapha University

Authors

  • ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์

Keywords:

การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning, ทักษะการคิดสร้างสรรรค์, เทคโนโลยีดิจิทัล, Active learning management, Creative thinking skill, Digital technology

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรายวิชาภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ฯ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และ 4) เพื่อประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ประชากรในการศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 175 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และศึกษาประสิทธิผล ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะการคิดสร้างสรรค์ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับการสนทนากลุ่ม 4) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในรายวิชาภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดสร้างสรรค์ฯ 5) แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ และ 6) แบบประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการศึกษาทักษะการคิดสร้างสรรค์ จากการทำแบบประเมินพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีระดับการคิดสร้างสรรค์อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย จากแบบสังเกตพฤติกรรมทักษะการคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางคือ 3.45 และผลการสนทนากลุ่มพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อทักษะการคิดสร้างสรรค์ คือ สภาพแวดล้อม ประสบการณ์ในชีวิต ประจำวัน และทักษะชีวิต 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ มี 7 องค์ประกอบ และ 3 ขั้นตอนหลัก องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิเคราะห์ผู้เรียน 2) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3) กำหนดบทบาทของครูและนักเรียน 4) เนื้อหาการจัดการเรียนรู้ 5) วิธีการและขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 6) สื่อและกิจกรรม 7) การประเมินผลและปรับปรุง และขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 1.1) เตรียมความพร้อมของนักเรียน 1.2) จัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 2) ขั้นดำเนินการจัดการเรียนรู้ 2.1) ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผน 2.2) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2.3) การสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) ขั้นประเมินผล 3.1) ประเมินผลหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ 3.2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ 3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ .32 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  This research objectives were 1) to study the creative thinking skills of the 4th grade students at “Piboonbumpen” Demonstration School Burapha University, 2) to develop an Active learning model using digital technology in the Thai language subject to enhance creative thinking skills, 3) to study the effectiveness of the learning management model and 4) to validate the learning management model. The population was the 4th grade students at “Piboonbumpen” Demonstration School, Burapha University, academic year 2023, totaling 175 students; the simple group used for the implementation of the learning management model for studying the effectiveness was 1 classroom randomly selected from the population as the unit for randomization. The results showed that; 1. The results of the study of creative thinking skills showed that most students have an average level of creative thinking; the results from a behavior observation of creative thinking skills showed that overall the average score was at a moderate level at 3.45 and the results from the focus group founded that affected creative thinking skills were; the environment factors, daily experiences and life skills. 2. The development of an Active learning model using digital consists of 7 elements and 3 main steps. The elements were 1) student analysis 2) learning objectives 3) determining the roles of teacher and students 4) learning management contents 5) methods and steps 6) media and activities, and 7) evaluation and revision; The steps were; 1) preparation 1.1) preparing students 1.2) organizing the learning environment 2) the learning management 2.1) arranging the learning according to the plans 2.2) using digital technologies 2.3) communicating and exchange the knowledge 3) evaluation 3.1) evaluating after receiving learning management 3.2) creative thinking skills. 3. The effectiveness index of the creative thinking skills assessment after receiving the learning management was at .32 while the average score after receiving the learning management was higher that before with a statistical significant different at .01 and the validation of the learning management model has average score at a high level.

References

กัมพล เจริญรักษ์. (2560). Active learning สู่ไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการ. 20(4), 18-23.

ฐิติชัย รักบำรุง. (2565). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ร่วมกับการใช้สถานการณ์จริงเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. HRD Journal, 13(1), 94-144.

ทศพร ดิษฐ์ศิริ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยวิธีการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2547). การแสดงหลักฐานความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น และเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์ ฉบับภาษาไทย และการรายงานผลการใช้แบบทดสอบในการให้คำปรึกษา. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัณพร ศรีปลั่ง และ เพ็ญผกา ปัญจนะ. (2564). การศึกษาผลการเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกระบวนการ Active learning. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(3), 144-152.

เผชิญ กิจระการ. (2546). เอกสารประกอบการสอนเรื่องดัชนีประสิทธิผล. มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์, ชลธิชา ภูริปาณิก และฐิติชัย รักบำรุง. (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค Gen Z. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 1-11.

วีรยุทธ พลายเล็ก. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด Active learning เพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการและจิตคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มหลักสูตรและการนิเทศ), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สกุลการ สังข์ทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ MECCA เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน (การสอนภาษาไทย), บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียน...เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2562). พลเมืองดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/48161-พลเมืองดิจิทัล%20(Digital%20Citizenship).html

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2560). Digital literacy คืออะไร. เข้าถึงได้จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp

AlHadi, I.A., Priyadi, M.S. & Suhariyanti, M. (2023). Active learning Strategies Increasing Motivation to Learn Islamic Religious at the Primary School (SDIT) Insan Rabbani Lampung. Journal for Religious-Innovation Studies, XXIII(1 January-June 2023), 75-85.

Barkley, E.F. (2017). Terms of Engagement: Understanding and Promoting Student Engagement in Today’s College’s Classroom, in Deep Active learning: Toward Greater Depth in University Education, Matsushita, Kayo. Gateway East, Singapore: Springer. pp. 35-57.

Centre for Childhood Creativity. (2020). Seven Components of Creativity. Retrieved from https://www.billsynnotandassociates.com.au/kb/2482-seven-components-of-creativity.html

Dilekçi, A. & Karatay, H. (2023). The effects of the 21st century skills curriculum on the development of students’ creative thinking skills. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1871187122002309

DeBell, A. (2020). What is the ADDIE Model of Instructional Design? Retrieved from https://waterbearlearning.com/addie-model-instructionaldesign/#:~:text=ADDIE%20is%20a%20learning%20model,Development%2C%20Implementation%2C% 20and%20Evaluation.

Guilford, J.P. (1967). The nature of human intelligence. New York: McGraw-Hill.

Havenga, M., Olivier, J., & Bunt, B. (2023). Problem-based learning and pedagogies of play: Active approaches towards Self-Directed Learning. Cape Town, South Africa: AOSIS Books.

Kaplan, Z. (2023). What is Creative Thinking? Definition and Examples. Retrieved from https://www.theforage.com/blog/skills/creative-thinking#:~:text=Creative%20thinking%20is%20 the%20ability,a%20wide% 20variety%20of%20careers.

Kelly, T. & Kelly, D. (2015). Creative Confidence – Unleashing the creative potential within us all. Glasgow: William Collins.

Klinhom, N., Pimdee, P. & Leekitchwatana, P. (2021). Active learning with Creative Problem-Solving to Enhance Creativity. Ilkogretim Online – Elementary Education Online, 20(5), 5591-5804.

Torrance, E.P. (1966). Torrance Tests of Creative Thinking. Princeton, N. J.: Personnel Press.

Torrance, E.P. (1975). Sociodrama as a creative problem-solving approach to studying the future. Journal of Creative Behavior, 9(3), 183–187.

Additional Files

Published

2024-06-28

Issue

Section

Articles