แบบจำลองความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

A MODEL OF WORKING HAPPINESS UNDER THE CONCEPT OF SUFFICIENCY ECONOMY OF THE HEALTHCARE PROFESSIONALS DURING THE COVID-19 PANDEMIC

Authors

  • วรรณวิชนี ถนอมชาติ
  • วทัญญู สุวรรณเศรษฐ

Keywords:

ความสุขในการทำงาน, แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง, บุคคลากรทางการแพทย์, โควิด-19

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สำรวจระดับความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และ 2. พัฒนาและยืนยันแบบจำลองความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของบุคลากรทางการแพทย์ผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างระหว่างตัวแปรต่าง ๆ และลดความคลาดเคลื่อนในการเสนอผลการศึกษาเครื่องมือในการเก็บข้อมูลในการศึกษานี้ได้แก่แบบสอบถามปลายปิดแบบมีโครงสร้างที่พัฒนามาจากแนวคิดความสุขในการทำงานของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เก็บข้อมูลกับบุคลากรทางการแพทย์สถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร โดยได้รับการตอบกลับคืน จำนวน 318 ราย ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร มีความสุขในการทำงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 8 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งหมด โดยมีความสุขด้านครอบครัวมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย =3.56 และ S.D. = 0.56) และมีความสุขด้านสุขภาพที่ดี (ค่าเฉลี่ย = 3.44 และ S.D. = 0.56) อยู่ในลำดับน้อยที่สุด นอกจากนั้น เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในทุกองค์ประกอบและสามารถใช้อธิบายความสุขในการทำงานทั้ง 8 ด้านของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เป็นอย่างดีโดยมีค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ (X2/df) เท่ากับ 1.19 ในขณะที่ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.95 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.92 และค่าดัชนีวัดระดับค่าความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.02 และเมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรในแบบจำลองพบว่า ตัวแปรทุกตัวมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) และมีค่าเป็นบวกทุกด้าน ค่าดัชนีความสอดคล้องสัมพันธ์ (NFI) มีค่าเท่ากับ 0.95 โดยพบว่า ค่าน้ำหนักองค์ประกอบความสุขด้านการแสวงหาความรู้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายของตัวแปรย่อย ได้แก่ ความรับผิดชอบในงานมากที่สุดเท่ากับ 0.62 สามารถใช้อธิบายว่า ความรับผิดชอบในงานเป็นความสุขที่อธิบายความสุขด้านการแสวงหาความรู้เหมาะสมที่สุดถึงร้อยละ 62 ในขณะที่องค์ประกอบความสุขด้านสุขภาพดีมีค่าคะแนนน้ำหนักองค์ประกอบน้อยที่สุดในประเภทของความสุขทั้ง 8 ด้าน แต่อย่างไรก็ตามมีค่าคะแนนน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกทุกด้านอยู่ระหว่าง 0.75 – 0.89 และมีตัวแปรด้านการดำเนินชีวิตที่ดีซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนาย 0.80 ซึ่งเป็นตัวแปรที่สามารถอธิบายความสุขด้านสุขภาพดีได้มากที่สุดถึงร้อยละ 80  The purposes of this study were 1. to survey the level of working happiness under the concept of the sufficiency economy of the healthcare professionals during the COVID-19 Pandemic, 2. to develop and confirm the model of working happiness under the concept of the sufficiency economy of the healthcare professionals during the COVID-19 Pandemic. To review the structures of each variable and avoid being inaccurate in presenting the structural equation model, a confirmatory factor analysis (CFA) was run. The data collection instrument in this study was a developed close-ended questionnaire which was constructed based on the concepts of the Happy Workplace introduced by Thai Health Promotion Foundation and the concept of the Sufficiency Economy that His Majesty King Bhumibol Adulyadej gave the initiative to guide the way of life for the Thai people. Data was collected with 318 healthcare professionals working in hospitals in Bangkok. This study found that the levels of all the eight working happiness components under the concept of the sufficiency economy of the healthcare professionals working in hospitals in Bangkok during the COVID-19 Pandemic were reported at high levels. The highest working happiness component was ‘Happy Family’ (average = 3.56 and S.D. = 0.56) and the lowest one was ‘Happy Body’ (average = 3.44 and S.D. = 0.56) The result of confirmatory factor analysis of the structural equation model was a good fit with the empirical data which well explained all the working happiness components of the healthcare professionals working in hospitals in Bangkok during the COVID-19 Pandemic X2/df = 1.19, GFI = 0.95, AGFI = 0.92, CFI = 0.99, RMSEA = 0.02, NFI = 0.95). Considering the Factor Loading of working happiness components in the model, all factors were found significantly positive (P<0.001). The largest Factor Loading was ‘Happy Brain’. When looking at the coefficient of determination, the responsibility at work (R2 = 0.62) showed the highest score among the other variables and healthcare professionals’ responsibility at work could, up to 62 percent, explain that the responsibility at work was the happiness encouraging the encouraging the healthcare professional to enjoy their new discoveries. Although ‘Happy Body’ was the component that had the smallest factor loading among all the variables, Factor Loadings of all the eight working happiness components were positively found between 0.75 and 0.89. The way of life (R2 = 0.8) was the variable which could by a factor of 80 percent explain ‘happy body’  

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2020). ประสบการณ์ของไทยในการจัดการกับโควิด-19 (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/eng/file/pub_doc/LDoc9.pdf [25 ธันวาคม 2563]

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ‘หมอ’ และ ‘พยาบาล’ รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขทำงานหนักแค่ไหนเพื่อสู้ โควิด-19 (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/874658 [25 ธันวาคม 2563]

กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php [25 ธันวาคม 2563]

กรมสุขภาพจิต. (2563). กรมสุขภาพจิต จับมือ เสถียรธรรมสถานฟื้นฟูจิตใจบุคลากรทางการแพทย์ผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์โควิด-19 และประชาชนกลุ่มเสี่ยงสร้างต้นแบบพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://gnews.apps.go.th/news?news=62662 [25 ธันวาคม 2563]

ผู้จัดการออนไลน์. (2563). เบื้องหลังของด่านหน้า! “บุคลากรทางการแพทย์” ที่คุณอาจจะยังไม่รู้ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000048685 [25 ธันวาคม 2563]

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2563). โควิด 19 และระบาดวิทยา: การสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=8&l=4 [25 ธันวาคม 2563]

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิท 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 280-291.

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต. (2563). COVID-19 ติดได้จากทางไหนบ้าง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://ch9airport.com/th/how-covid-19-contagion/ [25 ธันวาคม 2563]

ธุวนันท์ พานิชโยทัย, พิชฎา อารยานุรักษ์, อมรทิพย์ ภิรมย์บูรณ์, วารีรัตน์ ทองสม, เสาวรส หมอนวด, วิศรุต ตุ้ยศักดา. (2552). นวัตกรรม ภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง องค์ความรู้ของเกษตรกรและชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง กรมส่งเสริมการเกษตร.

วรรณวิชนี ถนอมชาติ และณฤดี พรหมสุวรรณ. (2562). A confirmatory Factor Analysis of Factors Promoting a Happy Workplace in the Eastern Region of Thailand. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 14-28.

วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. (2563). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารแพทย์ เขต 4-5, 39(4), 616-627.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

นภัสจันท์ มงคลพันธ์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, สุชีรา ภัทรายุตวรรณ์ และวิชัย มนัสศิริวิทยา. (2560). ความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(2), 87-99.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th Ed.). New Jersey: Pearson Education.

Bentler, P.M., Chou, C.H. (1987). Practical issues in structural modeling. Sociological Methods & Research, 16, 78-117.

Burton, J. (2010). WHO Healthy Workplace Framework and Model: Background and Supporting Literature and Practices. WHO Headquarters, Geneva, Switzerland.

Law, T. (2020). We Carry That Burden. ‘Medical Workers Fighting COVID-19 Are Facing a Mental Health Crisis. Retrieved December 25, 2020, From Time Magazine:

https://time.com/5817435/covid-19-mental-health-coronavirus/

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G, (2016). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling (4th Ed.). New York: Routledge.

United States Department of Labor Bureau of Statistics. (2010). American Time Use Survey. วันที่ค้นข้อมูล 11 มกราคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://www.bls.gov/news.release/atus.nr0.html

Additional Files

Published

2022-10-20