การศึกษาเชิงคุณภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติการสอนของนิสิตสาขาวิชาพลศึกษา ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

A Qualitative Inquiry about the Teaching Practice of Physical Education Student during the Coronavirus Disease 2019 (Covid-19)

Authors

  • ระพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี
  • เกษมสันต์ พานิชเจริญ

Keywords:

ปฏิบัติการสอน, นิสิตสาขาวิชาพลศึกษา, ไวรัสโคโรน่า 2019, COVID-19, ไวรัส

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาของนิสิต สาขา วิชาพลศึกษาในการปฏิบัติการสอน ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ผู้ให้ข้อมูลหลักรวม 38 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจงจากนิสิตสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาฝึกปฏิบัติการสอน 1 และ 2 ในปีการศึกษา 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง การเขียนแผนที่ความคิด การบรรยายเหตุการณ์สำคัญ และการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล แบบอุปนัยด้วยวิธีการเปรียบเทียบความคงที่ของข้อมูล ตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า ผลการศึกษาสรุปได้ 3 หัวเรื่อง ได้แก่ หัวเรื่องแรกประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติการสอน จำแนกเป็นประสบการณ์ที่ดี คือ (1) ได้เรียนรู้การสอนวิถีใหม่แบบออนไลน์ (2) ได้เรียนรู้งานและหน้าที่ของการเป็นครู ส่วนประสบการณ์ที่ไม่ดี คือ เหนื่อยกับการสอนแบบสลับวันเรียน หัวเรื่องที่ 2 ปัญหาในการปฏิบัติการสอน ประกอบด้วย (1) ต้อง สอนพลศึกษาแบบให้ผู้เรียนเว้นระยะห่างและใส่หน้ากากอนามัย (2) สลับวันเรียน ทำให้สอนได้ช้าและเหนื่อย (3) ต้องสอนพลศึกษาในห้องเรียนแทนสนามกีฬา (4) ต้องสอนพลศึกษาออนไลน์ (5) ลำบากกับการวัดผลและเก็บคะแนนพลศึกษาออนไลน์ ส่วนหัวเรื่องที่ 3 แนวทางการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติ การสอน ประกอบด้วย (1) ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ (2) เรียนรู้และใช้เทคโนโลยีในการสอนให้มากขึ้น  This purpose of this study was to find out the physical education learning experience, problem and guideline for solving problems of students in teaching practice during the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) pandemic. The key informant was 38 physical education students, enrolling in Teaching Practice I and II course in 2020 academic year which was selected by purposive sample method. All students were willing to participate with parents voluntarily signed on the consent forms. Data were collected by semi-structured interview, concept map, critical incidence, and document analysis. Data were inductively analyzed using a constant comparison method and data triangulation. Findings of this study divided into 3 parts; Firstly, the experience gained from teaching practice included positive and negative experience. Positive experience included (1) learning through new teaching online application (2) learning task and teacher duties. Negative experience is tired of teaching alternate school day. Secondly, the problems of teaching practice include (1) teaching physical education to students, wearing a mask under social distance circumstance (2) Teaching progress proceeding slowly during alternating school days (3) Teaching physical education in a classroom instead of a sports field (4) Teaching physical education through online application (5) Measuring and collecting students’ scores via online difficulty. Finally, the guidelines for solving practical teaching problems included (1) Designing the teaching and learning activities to suit the situation (2) Enhancing the using of technology tools to teach in the classroom.

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ และฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารึกศิลป์. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19. รายงานการศึกษา, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563ก, 8 มิถุนายน 2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. เอกสารเผยแพร่สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563ข, 9 เมษายน 2563). การเปิดเรียนสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. (2562, 26 พฤศจิกายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 31-34.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2559. (2559, 9 ธันวาคม 2559). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 67-103.

คงรัฐ นวลแปง, พรรณทิพา พรหมรักษ์, สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์, กิตติมา พันธ์พฤกษา, เชวง ซ้อนบุญ, และคมสัน ตรีไพบูลย์. (2557). สมรรถนะวิชาชีพครูของนิสิตปฏิบัติการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 25(1), 104-113.

งานฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. (2562). คู่มือปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ ปีการศึกษา 2562. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธงชาติ พู่เจริญ, สุปราณีวิ์ ขวัญบุญจันทร์, สาธิน ประจันบาน และนพรัตน์ พบลาภ. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การผลิตครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารคณะพลศึกษา, 19(1), 152-166.

ธนาวรรณ รัมมะภาพ และมนตรี สามงามดี. (2558). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดกิจกรรมพลศึกษาในนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ: รายงานวิจัย.

ธานี นงนุช. (2542). ปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของสถาบันราชภัฎอุบลราชธานี. รางานวิจัย สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภาเรื่องรายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, 7 พฤษภาคม 2563). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 10-14.

พงษ์เอก สุขใส. (2561). ครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12 (Supplement), 8-21.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สาลี่ สุภาภรณ์. (2550). วิจัยเชิงคุณภาพทางพลศึกษาและกีฬา. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203-213.

อัสรี สะอีดี, สิทธิศักดิ์ บุญหาร และจิตรัตดา ธรรมเทศ. (2562). สมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(4), 14-24.

อุทิศ บำรุงชีพ. (2557). HyFlex Learning: การเรียนรู้ผสมผสานแบบยืดหยุ่นเทคโนโลยีการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์, 25(1), 15-29.

Batez, M. (2021). ICT Skills of University Students from the Faculty of Sport and Physical Education during the COVID-19 Pandemic. Sustainability, 13, 1711. https://doi.org/10.3390/su13041711

Nuttaporn, S. (2019). The Physical Education Instructional Model Based on Active Learning with Video Model to Promote Teaching Skill and Personal Awareness of Teaching Thai Traditional Sports for Student Teachers. Scholar: Human Sciences. 11(2), 412-426.

Additional Files

Published

2022-10-20