การศึกษาความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย ตามแนวคิด Active Learning ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
A Study of Essential Needs Development on a Thai Literature Learning Management Model Based on the Concept of Upper Secondary Students’ Active Learning
Keywords:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, วรรณคดีไทย, การสอนตามแนวคิด Active LearningAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพการจัดการ เรียนการสอนวรรณคดีไทยของครูและนักเรียน 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วรรณคดีไทยตามแนวคิด Active Learning ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ดำเนินการวิจัยโดยเป็นกระบวนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ 1) ครูภาษาไทย จำนวน 10 คน 2) นักเรียน จำนวน 12 คน และ 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรการสอน การวัดประเมินผล และการสอน วรรณคดีไทย จำนวน 8 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) ประเด็นการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group discussion) ของครูภาษาไทย 2) ประเด็นการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group discussion) ของนักเรียน และ 3) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง (Structured Interview) ของผู้เชี่ยวชาญ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีไทยของครู มุ่งเน้นด้วยวิธีบรรยายเป็นหลัก แบ่งเนื้อหาวรรณคดีไทยให้นักเรียนแปลความหมายและมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ตลอดจนขาดการเชื่อมโยงวรรณคดีไทยกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน ประเมินผลผู้เรียนด้วยใบงาน ข้อสอบปรนัยและ อัตนัยเท่านั้น ในประเด็นสภาพการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนพบว่า นักเรียนขาดความสนใจในการเรียนวรรณคดีไทย ไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของวรรณคดีไทย ตลอดจนเกิดความเบื่อหน่ายเมื่อจะต้องเรียนวรรณคดีไทย และ2) แนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยตามแนวคิด Active Learning ได้แก่ การจัดการเรียนรู้ที่ประยุกต์ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning) The purposes of the research were: 1) To study and analyze basic information about the teaching and learning management of Thai literature on teachers and students. 2) To study guidelines for Development on a Thai Literature Learning Management Model Based on The Concept of Upper Secondary Students’ Active Learning. The qualitative research design was conducted. The sample groups in the research were 1) 10 Thai language teachers, 2) 12 students, and 3) 7 experts for teaching curriculum, measuring and teaching Thai literature, which were obtained by Purposive Sampling. The research instruments were: 1) Focus group discussion by Thai teachers, 2) Focus group discussion by students, and 3) Structured interview by teaching curriculum experts. The qualitative data were analyzed by content analysis. Findings are as follows: 1) The teaching and learning management of Thai literature was mainly focused on lecturing methods which described the content of Thai literature in the classroom by interpretation and presentation. Moreover, the lack of relations between Thai literature and current situations was overpassed, and mainly evaluated students with worksheets, multiple choice and subjective examination. In terms of teaching and learning management of Thai literature, it was found that the students were uninterested in learning Thai literature, unappreciated the valve and importance of Thai literature. In addition, learning Thai literature was boring. And 2) The guidelines of Development on A Thai Literature Learning Management Model Based on The Concept of Upper Secondary Students’ Active Learning: the integrations of learning management between Activity-Based Learning and Problem–based Learning.References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุสุมา รักษมณี. (2547). วรรณสารวิจัย. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2552). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(1), 107-118.
ชัตสุณี สินธุสิงห์. (2532). วรรณคดีทัศนา. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลธิรา กลัดอยู่. (2517). คำบรรยายวิชาภาษาไทย. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2545). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ณัฐวุฒิ สกุณี. (2559). การพัฒนาเจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2557). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Theories and Development of Instructional Model). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอส.พริ้นติ้งไทย แฟคตอรี่.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, หม่อมหลวง. (2544). ภาษาไทยวิชาที่ถูกลืม. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.
ประภาศรี สีหอาไพ. (2524). วิธีการสอนภาษาไทยระดับมัธยม. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
ปรางค์สุทิพย์ ทรงวุฒิศีล. (2557). จิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาวินี บุญธิมา. (2553). การจัดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคต ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางศึกษา. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แม้นมาส ชวลิต. (2537). งานเขียนเก่าๆ ของไทยไฉนเด็กวัยรุ่นทำเมิน. กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรโสภณ.
รุสดา จะปะเกีย. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ชีววิทยาและความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์. สงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิภา กงกะนันทน์. (2556). วรรณคดีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. (2550). การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็น ฐานกับการสร้างเด็กเก่ง. กรุงเทพฯ: ซี เอ็ด ยูเคชั่น.
วิลาวัณย์ จินวรรณ. (2554). รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบลดภาระทางปัญญาโดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อการรู้คิดและความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศศิธร ลิจันทร์พร. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานโดยใช้แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนักเรียนประถมศึกษา ตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียน...เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ (QUALITY OF STUDENTS DERIVED FROM ACTIVE LEARNING PROCESS. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.
สร้อยสน สกลรักษ์. (2541). แนวการสอนวรรณคดีมรดกในระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 26(2), 39-49.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). สรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติ. เข้าถึงได้จาก http://www.niets.or.th/
สิรภัทร ชลศรานนท์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามมิติร่วมกับการเรียนการสอนภาษาไทย โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการเขียนเชิงบรรยายสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(2), 163-177.
สุจริต เพียรชอบ. (2540). ครูดี. วารสารวิทยาจารย์, (สิงหาคม), 63-66.
สุวิมล ว่องวานิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์. (2557). ปัจจัยในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและกระบวนการเรียนรู้ แก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนิสิต นักศึกษา ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อิงอร สุพันธุวณิช และคณะ. (2555). วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพฯ: แอคทีฟพริ้นท์.
Barrett, (2010). The problem-based learning process as finding and being in flow. Innovations in Education and Teaching International, 47(2), 165.
Bonwell, C.C. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Washington D.C.: ERIC Claeringhouse on Higher Education.
Cunningham, W.G., & Cordeiro, P.A. (2003). Educational leadership: a problem-based approach. Boston: Allyn and Bacon.
Felder, R. M. & Brent, R. (2009). Active learning: An introduction. ASQ Higher Education Brief, 2(2), 4-9.
George, M. A. (2002). Professional development for a literature-based middle school Curriculum. The Clearing House, 75, 6. Retrieved May 3, 2018, From
http://thailis.uni.net.th/hwwedal/detail.nsp.
McKinsey. (2010). How the world’s most improved school systems keep getting better. Retrieved June 12, 2012, from http://mckinseyonsociety.com/how-the-worlds-most-improved-school systemskeepgetting-better/
Neuman, W.L. (1997). Social Research Methods: Qualitative and Quantitative Approaches (3rd ed.). Allyn and Bacon, Boston.
Riwmongkol, Teeradej. (2555). Human Resource Development. Bangkok: Ramkhamhaeng University Printing House.
Swanson T. C. (2005). Knowledge management: An analysis of knowledge integrator effectiveness in managing organizational knowledge. Doctor of Philosophy Dissertation, Capella University.
Torp, Linda & Sara Sage. (1998). Problem as Possibilities: Problem Based Learning for K-12. Alexandria, Virginia: Association for Supervision and Curriculum Development.